E-mail : klanwari@gmail.com             Tel - Line ID : 081 890 4988 

ประเภทของรายการอาหาร (Types of Menu)

รายการอาหารหรือเมนู (Menu) เป็นหัวใจหลักของภัตตาคาร ร้านอาหาร เพราะจะเป็นสิ่งที่แขกจะตัดสินใจว่าจะใช้บริการที่ร้านไหน เพราะอาหารอะไร และสำหรับร้านอาหารเองก็จะใช้เมนูเป็นตัวเริ่มต้นกิจกรรมต่างๆ เช่น หากุ๊กที่ชำนาญอาหารในเมนูนั้น การเลือกใช้วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์สำหร้บการปรุงและการเสิร์ฟ ตลอดจนวิธีการเสิร์ฟ และอื่นๆ อีกมากมาย

รายการอาหารนับเป็นสื่อกลางระหว่างบุคคลต่างๆ ทั้ง เจ้าของ แขกผู้ใช้บริการ กุ๊ก พนักงานเสิร์ฟ และพนักงานที่สนับสนุนอยู่หลังร้าน การบริหารจัดการจะยากหรือง่าย แขกจะได้ทานช้าหรือเร็ว กุ๊กจะปรุงอาหารช้าหรือเร็ว ง่ายหรือยาก ก็ขึ้นอยู่กับเมนูนี่แหละครับ

โดยทั่วไปรายการอาหารหรือเมนู (Menu) ผมขอเรียกทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษว่าเมนูไปเลย จะได้ง่ายและเร็ว เพราะอย่างไรในปัจจุบันเราก็มักจะเรียกทับศัพท์กันแทบทั้งนั้นอยู่แล้ว เมนูทั่วไปจะมีด้วยกันอยู่ 3 ประเภท คือ

 

1. รายการอาหารตามเลือก (à la carte อ่านว่า อะ-ลา-ก๊าต)

เรามักเรียกกันว่ารายการอาหารตามสั่ง แต่จากแนวความคิดของอาจารย์สายันต์ บูรพาพิชิตภัย ที่ได้ให้ความหมายไว้ว่า น่าจะใช้คำว่าอาหารตามเลือก เหตุผลเพราะว่าลูกค้าสามารถเลือกได้จากรายการที่ทางร้านกำหนดไว้แล้วในรายการอาหาร แต่ถ้าใช้ตามสั่งอาจจะสั่งอะไรที่นอกเหนือจากที่มีอยู่ในรายการอาหาร ฟังดูก็มีเหตุผล แต่ในที่นี้เป็นอันเข้าใจกันได้ว่าไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร ก็เป็นรายการที่ทางร้านกำหนดไว้ให้เลือกนั่นเอง มีหลายรายการให้เลือกได้ราคาก็แตกต่างกันไป

ประเด็นที่น่าให้ความสนใจเกี่ยวกับรายการอาหารตามสั่งหรือตามเลือกนี้ที่น่าพิจารณาคือ

  • ร้านอาหารควรมีความเป็นเฉพาะตัวด้านใดด้านหนี่งก่อน ร้านอาหารหลายร้านมักพยายามจะตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด คือมีรายการอาหารให้เยอะเข้าไว้ ไม่ว่าไทย จีน ฝรั่ง มีหมด ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกเช่น
    • กุ๊กไม่ชำนาญอาหารทุกอย่าง บางอย่างทำได้ดี บางอย่างพอใช้ได้ บางอย่างไม่ค่อยดีหรือไม่ค่อยอร่อยเลย ซึ่งเสี่ยงมาก
    • ต้องเตรียมวัตถุดิบไว้มากอย่าง กระจายไปหมด บางอย่างถ้าไม่มีใครสั่งก็เก่าหรือหมดอายุ
    • ใช้เวลาในการปรุงที่หลากหลาย นานเกินไปสำหรับแต่ละโต๊ะ
    • ใช้สถานที่ ภาชนะหรือตู้เย็นในการเก็บค่อนข้างมาก
  • มีรายการอาหารน้อย แต่แขกต้องการรายการที่ไม่มีอยู่ในเมนูแล้วสามารถทำเพิ่มให้ ย่อมดีกว่ามีรายการอาหารเยอะแล้วต้องไปขอโทษแขกที่วัตถุดิบบางอย่างไม่มี

รายการอาหารประเภทนี้เหมาะสำหรับร้านอาหารที่แขกใช้เวลาในการทานได้นานหน่อย เช่น ไปเที่ยวชายทะเลกันทั้งครอบครัว แบบพักผ่อนสบายๆ ไม่รีบร้อนอะไร

 

 

2. รายการอาหารชุด (set menu) ภาษาฝรั่งเศสจะใช้คำว่า table d'hôte - ต๊าบเบลอะโด้ท

เป็นรายการอาหารที่ทางร้านอาหารจัดไว้ในรายการที่จำกัด มีไม่กี่อย่างโดยจัดเป็นชุด เช่น

  • อาหารเรียกน้ำย่อย   - Tomato Cream Soup
  • อาหารหลัก            - Pepper Steak
  • ของหวาน              - Strawberry Ice Cream

หรืออาจมีอาหารบางประเภทให้เลือกบ้าง เช่น อาหารหลักอาจมี Pepper Steak หรือ Pork Chop ให้เลือก อาหารชุดก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตายตัวเป๊ะๆ ซะทีเดียว

รายการอาหาประเภทนี้เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่เร่งด่วน เช่น ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ ที่ทำงานที่แขกมีเวลาน้อย ทานเร็วไปเร็ว หรืองานแต่งงานที่ต้องการความเป็นทางการ

 

 

Photo by Erik Mclean on Unsplash

3. รายการอาหารพิเศษเฉพาะ (specialty)

ชื่อของรายการอาหารประภทนี้ก็บอกไว้แล้วว่าเป็น อาหารพิเศษ มีนอกเหนือจากรายการอาหารปกติไม่ว่าจะเป็นรายการอาหารตามเลือกสั่ง หรือแบบเซ็ต ทั้งนี้รายการอาหารพิเศษนี้อาจมาจากเหตุผลต่างๆ เช่น

  • มีวัตถุดิบตามฤดูกาลมาให้ทำเมนูนี้ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง
  • เชฟคิดค้นขึ้นเอง เป็นรายการอาหารพิเศษของเดือนนี้ หรือสัปดาห์นี้ หรือวันนี้
  • เป็นรายการอาหารตามรอยคนดัง เช่น เมื่อผู้มีชื่อเสียงระบุถึงอาหารรายการนี้ หรือเคยมาทานแล้วของให้ปรุงจานนี้ให้เขา
  • การนำวัตถุดิบที่มีอยู่มาดัดแปลงเป็นรายการอาหารใหม่ ก่อนที่จะหมดอายุ แต่ยังไม่หมดอายุจริง (ข้อนี้อย่างไปบอกใครนะครับ เรารู้กันเองนะ)

รายการอาหารประเภทนี้เหมาะสำหรับการแก้เกมส์ของรายการอาหารที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรายการอาหารประจำ หรืออะลาก๊าต เป็นการระบายวัตถุดิบ ตอบโจทย์ลูกค้าประจำที่มาทานบ่อยๆ แล้วอยากทานอะไรที่แตกต่างออกไป

อีกตัวอย่างของการสร้าง Special Menu ขึ้นมาใหม่คือการใช้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบร่วมกัน เช่น คะน้าสด แต่ละต้นประกอบด้วยส่วนประกอบหลักคือ ลำต้นและใบ

https://sbic-kku.com/product/

ถ้าเราแยกก้านแต่งเป็นแท่งสวยๆ แช่เย็นๆ ใช้เสิร์ฟประกอบกับหมูมะนาว ก้านคะน้าสดๆ จะช่วยสร้างราคาให้กับเมนูหมูมะนาวได้เป็นอันมาก

https://www.knorr.com/th/recipe-ideas/

 

ในขณะเดียวกันก็นำใบไปประกอบเป็นเมี่ยงคะน้าที่ใช้แต่ใบ

เมี่ยงคะน้าก๋วยเตี๋ยว โดย: MGR Online

ทั้งสองเมนูนี้สามารถทำเงินได้เป็นอย่างดี และสามารถทำเป็นรายการอาหารพิเศษที่มีเฉพาะบางวันได้อย่างสบายๆ

รายการอาหารพิเศษนี้อาจเป็นแผ่นกระดาษที่เสียบเพิ่มในเมนูปกติ ตั้งเต็นท์การ์ดไว้ที่โต๊ะอาหาร ขึ้นกระดานช็อคหรือกระดานไวท์บอร์ดให้แขกเห็น แต่ที่ได้ผลดีที่สุดคือพนักงานบริการช่วยแนะนำ

พนักงานฝ่ายครัวและฝ่ายห้องอาหารต้องทำงานประสานกันเป็นอย่างดี คิดและสร้างสรรค์ด้วยกัน ดีที่สุด ช่วยกันคิดเมนู ทำ และเสนอขาย

ขอให้รวยๆ กันครับ

ติดต่อเรา

นัฐพล กลั่นวารี
Nattapol Klanwari

  • Tel (Thailand) 66-081 890 4988
  • Line ID : 081 890 4988
  • Tel (Canada) 1 - 437 775 2478
  • Email : klanwari@gmail.com

 

สุนันทา

  • Tel : 090 917 9523

ติดตามเรา

การอบรมพร้อมกับการสนับสนุน

การอบรมเป็นวิธีการหนึ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง ความรู้ ทักษะและทัศนคติ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะได้ผลมากยิ่งขึ้น ถ้าปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อหนุนด้วย ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือผู้บริหารหรือผู้นำที่จะก่อให้เกิดปัจจัยเกื้อหนุนเหล่านั้น


คลิ๊กเพื่อดูหลักสูตรทั้งหมดพร้อมรายละเอียด

สถิติการเข้าชม (Since June 20, 2019)

1142780
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1316
1282
8819
1125224
32298
43068
1142780

Your IP: 34.238.189.240
2023-03-26 18:55
© 2017 Sj TheCool - Joomla Responsive Template. All Rights Reserved. Designed By SmartAddons">SmartAddons.com

Search