Written by Nattapol Klanwari
การใช้บริการสายการบินไปต่างประเทศโดยเฉพาะเที่ยวบินระยะไกล มีอาหารหลายมื้อให้ทาน ประกอบกับอาหารก็จะมีเครื่องดื่มทั้งที่ไม่มีแอลกอฮอล์และที่มีแอลกอฮอล์ให้เลือกดื่ม ถ้าเลือกดื่มให้เหมาะกับมื้ออาหารนั้นๆ ก็จะทำให้มีความสุข อาหารย่อยได้เป็นอย่างดี ระยะเวลาจะดูสั้นลงไปมากทีเดียว
การที่ต้องนั่งเครื่องบินอยู่กับที่นานๆ บางเที่ยวบินใช้เวลา มากกว่า 10 ชั่วโมง เป็นเรื่องที่สร้างความน่าเบื่อให้กับผู้โดยสารเป็นอย่างมาก ต้องทานอาหารบนเครื่องบิน 3 - 4 มื้อ ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย อาหารก็ย่อยยาก นอนก็ไม่ค่อยหลับ เรามาเปลี่ยนกิจกรรมบางอย่างให้ดูน่ารื่นรมณ์แทนกันดีกว่า กิจกรรมหนึ่งในนั้นก็คือการเลือกเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับอาหารและมื้ออาหาร สร้างความสำราญในการใช้บริการบนเครื่องบินกัน ไหนๆ เราก็จ่ายค่าตั๋วเครื่องบินที่ได้รวมค่าเครื่องดื่มไว้แล้ว
การบริการอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบินจะไม่ได้เป็นเหมือนการบริการในห้องอาหารที่ค่อยเป็นค่อยไป สงสัยอะไรก็ถามพนักงานให้อธิบายได้ แต่บนเครื่องบิน พนักงานผู้ให้บริการบนเครื่องบิน (Flight Attendant) ต้องทำงานแข่งกับเวลา เสิร์ฟด้วยความรวดเร็ว ไม่มีเวลามาอธิบายเครื่องดื่มชนิดนั้นชนิดนี้ได้มากมาย ผู้โดยสารคนอื่นก็สร้างความกดดันเพื่อจะได้รับการบริการที่เร็ว ถ้ามัวแต่มานั่งนึกว่าจะสั่งอะไร พนักงานเข็นรถเลยที่นั่งเราไปแล้วก็จะแทบหลาดโอกาสในการสั่งเครื่องดื่มนั้นเลย
บทความนี้จะเน้นการสั่งเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ที่ประกอบกับมื้ออาหารนะครับ ว่าควรดื่มอะไร ในช่วงใด ที่เป็นหลักสากลนิยมที่สายการบินต่างๆ ก็ปฏิบัติในการให้บริการคล้ายคลึงกัน จะต่างกันก็ที่ยี่ห้อของเครื่องดื่ม เช่น Gin ก็มีทุกสายการบินเพียงแต่จะใช้ยี่ห้ออะไรเท่านั้นเอง เช่น
Gin ยี่ห้อ Bombay Sapphire หรือเรียกสั้นๆ ว่า Bombay
Gin ยี่ห้อ Gordon's
บทความนี้ผมจะไม่ลงรายละเอียดของสุราแต่ละประเภท สำหรับท่านผู้อ่านที่ยังไม่มีพื้นฐานของสุราแต่ละประเภทสามารถคลิ๊กอ่านในบทความที่ผมได้เขียนไว้แล้ว โดยผมจะทำลิ๊งค์ไว้ด้านล่างเพื่อเข้าไปทำความเข้าใจได้
ก่อนอื่นทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มประเภทของเครื่องดื่มที่ประกอบกับมื้ออาหาร
1. เครื่องดื่มเรียกน้ำย่อย หรือ แอพเพอริทีพ (Aperitives) เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร เป็นการดื่มก่อนทานอาหาร (ผมจะมีปัญหาน้ำย่อยมายากต้องดื่มเรียกหลายแก้ว)
2. เครื่องดื่มที่ดื่มไปพร้อมกับการรับประทานอาหาร (With Meal)
3. เครื่องดื่มที่ช่วยย่อย หรือ ไดเจสทีพ (Digestive) เน้นดื่มหลังจากทานอาหารเสร็จเพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดีขึ้น
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าทำความเข้าใจก่อนการสั่งดื่มคือวิธีการผสมดื่ม สุราตัวนี้ผสมอะไรหรือไม่ ถ้าผสมจะผสมกับอะไรดี ผมจะพูดถึงการผสมที่มีบริการบนเครื่องบินนะครับ ไ่ด้ครบหมดเหมือนการผสมในบาร์ทั่วไป เพราะบนเครื่องบินจะทำการผสมไม่ได้มาก เช่นการเขย่า (Shake) ซึ่งทำได้ยาก
1. การดื่มแบบเพียวๆ คือไม่ผสมอะไรเลย (Straight up หรือ Neat)
2. การดื่มโดยใส่น้ำแข็งสัก 2, 3 ก้อน หรือที่เรียกว่าออนเดอะร็อค (On the Rock)
3. การผสมกับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น น้ำผลไม้หรือ น้ำอัดลม (With Mixer) วิธีนี้จะเรียกการผสมว่า Build
ก่อนการบริการเครื่องดื่มหรืออาหารพนักงานจะนำรายการอาหาร (Menu) และรายการเครื่องดื่ม (Beverage List) (ถ้าเป็นรายการเครื่องดื่มที่ขายเป็นแก้วๆ เช่นในบาร์จะเรียกว่า Drink List) มาให้ผู้โดยสารแต่ละท่านเพื่อให้ทราบว่าในเที่ยวบินนี้จะมีการเสิร์ฟอาหารกี่มื้อ มีอะไรบ้าง และมีเครื่องดื่มอะไรบ้าง ทั้งเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์และที่มีแอลกอฮอล์
http://www.mami-eggroll.com/2011/09/asiana-air.html
https://www.alcademics.com/airline-drink-menus.html
เริ่มการเลือกสั่งดื่มประกอบกับมื้ออาหารกันเลย บางสายการบินก็จะระบุประเภทของเหล้าโดยไม่ระบุยี่ห้อ เช่น Whisky ไม่ระบุยี่ห้ออะไร บางสายการบินจะระบุยี่ห้อเหล้าไปเลย เช่น Glenlivet aged 12 years ซึ่งก็คือ Whisky นั่นเอง
1. Aperitifs หรือ เครื่องดื่มเรียกน้ำย่อย ดื่มก่อนที่จะทานอาหาร ผมจะยกตัวอย่างจากรายการที่สองบ้านบนซึ่งมีให้เลือกมากหน่อย (ผมชอบมาก)
1.1 น้ำผลไม้ หรือ น้ำอัดลม ที่ทางสายการบินมีไว้บริการในรายการ สำหรับผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มตามชอบเลยครับ
1.2 สุรา (Spirit หรือสุรากลั่น) - Glenlivet aged 12 years เป็น Sigle Malt Whisky (ระบุยี่ห้อเลย) ที่มีอายุการบ่มเก็บ 12 ปี นิยมดื่มแบบ
- Straight up
- On the Rock
- ผสมกับ Mixer อะไรก็ได้ที่ชอบ เช่น Soda Water, น้ำเปล่า, โคล่า ฯลฯ
Scotch Whisky ประเภท Single Malt Whisky ยี่ห้อ Glenlivet อายุบ่มเก็บ 12 ปี (aged 12 years) เจอระดับบ่มเก็บขนาดหนี้หรือบางสายการบินใช้ 17, 18 หรือ 21 ปี ไม่ดื่มก็เสียดายแย่เลยครับ
เครื่องดื่มประเภท On the Rock https://iba-world.com
1.3 Anise Liqueur (ไม่ได้ระบุยี่ห้อ) สุราที่มีส่วนผสมของยี่หร่าและพืชสมุนไพรอื่นๆ หอมเย็นๆ ยี่ห้อ เช่น Pernod เมื่อเติมน้ำหรือใส่น้ำแข็งจะเปลี่ยนเป็นสีขุ่น นิยมดื่มแบบ
- On the Rock
Anise ยี่ห้อ Pernod
1.4 Bourbon หรือ American Whisky (ไม่ได้ระบุยี่ห้อ) ดื่มได้ทั้ง
- Straight Up
- On the Rock
- ผสมกับ Mixer เช่น โซดา น้ำ โคล่า ฯลฯ
Bourbon หรือ American Whiskey จาก Tennessee ยี่ห้อ Jack Daniel's
1.5 Gin (ไม่ได้ระบุยี่ห้อ) นิยมดื่มแบบ
- ผสมกับ Tonic Water ใส่น้ำแข็ง โดยมากก็จะเรียกว่า Gin Tonic หรือจะผสมกับเครื่องดื่มอื่นๆ ก็ได้ตามชอบ
Tonic Water ยี่ห้อ Canada Dry
1.6 Bitter โดยมากจะเป็นยี่ห้อ Campari นิยมดื่มแบบ
- On the Rock
- ผสมโซดา หรือน้ำส้ม หรือน้ำเปล่า
Bitter ยี่ห้อ Campary
1.6 Vermouth Martini Rosso เป็นเหล้ากลิ่นรสสมุนไพร ระบุยี่ห้อมาเลย ว่าเป็น Martini ชนิดหวาน (Rosso) โดยมากมักดื่มแบบ
- On the Rock
Vermouth ยี่ห้อ Martini ชนิดหวาน (Sweet)
1.7 Port เป็นไวน์ที่มีแอลกอฮอล์สูงโดยเพิ่มดีกรีด้วยบรั่นดี รสหวาน สามารถดื่มโดยเป็น Aperitif หรือ Digestive ก็ได้ นิยมดื่มแบบ
- Straight up
Port ยี่ห้อ Taylor Fladgate ชนิด Old Tawny Port อายุ่บ่มเก็บ 20 ปี
1.8 Beer ก็นิยมดื่มแบบที่เราดื่มกันโดยทั่วไป แช่เย็นแล้วดื่มได้เลย
Beer ยี่ห้อ Budweiser
2. เครื่องดื่มพร้อมการรับประทานอาหาร จะเป็นไวน์ขาว (White Wine) หรือไวน์แดง (Red Wine) พนักงานก็นำทั้ง White Wine และ Red Wine มาเสนอ ก็เลือกดื่มตามชอบได้เลย ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ว่าทานเนื้อวัวหรืออาหารทะเล สายการบินต่างๆ จะมีการคัดเลือกไวน์ที่จะเสิร์ฟบนเครื่องบินของแต่ละสายการบินโดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ (Wine Expert หรือ Sommelier - ซอมเมอริเยร์) เป็นผู้คัดเลือก
ไวน์ ประเภทต่างๆ
3. เครื่องดื่มช่วยย่อยหลังการรับประทานอาหาร (Digestive) โดยมากก็จะเสิร์ฟคอนญัค (Cognac) และ เหล้าหวานหรือลิเคียว (Liqueur)
3.1 Cognac เช่น
- Hennessy
- Rémy Martin
- Courvoisier
- ฯลฯ
นิยมดื่มแบบ Straight up
Hennessy XO
Rémy Martin XO
Courvoisier XO
A glass of Cognac
3.2 Liqueur หรือเหล้าหวานหลังอาหาร เช่น
- Baileys Irish Cream (แบรี่ส์ ไอริส ครีม) เป็นลิเดียว ที่ใช้ Irish Whisky ผสมด้วยครีมและโกโก้
นิยมดื่มแบบ Straight หรือ On the Rock
Baileys Irish Cream
จิบกาแฟไปพร้อมๆ กับ Cognac หรือ Liqueur เพลินดีมากๆ เลย
ตัวอย่างที่ยกมาน่าจะครอบคลุมประเภทสุราที่เสิร์ฟกันบนเครื่องบินเป็นส่วนมากแล้ว จะต่างกันก็ตรงยี่ห้อของเหล้าแต่ละประเภท
นอกจากระหว่างมื้ออาหาร เราก็หาเรื่องดื่มอีก พอผู้โดยสารคนอื่นหลับกันหมดแล้ว พนักงานที่ให้บริการว่างงานกันแล้ว เราก็ค่อยๆ ย่องไปยังสถานีบริการของพนักงานก็จะอยู่ใกล้ๆ กับห้องน้ำนั่นแหละครับ เราก็ค่อยๆ เริ่มด้วย
"I can not sleep well. Can you do me a favor, please?" แล้วก็ทำหน้าละห้อยเข้าไว้
พนักงานก็จะเห็นใจ โดยอาจพูดว่า "How can I help you?"
ต่อเลยครับ "If it's possible, just a glass of Cognac, please. (ถ้าเป็นไปได้ ขอคอนญัค สักแก้วเถอะครับ)
พนักงานก็จะให้เรากลับไปรอที่ที่นั่ง แล้วจะนำมาเสิร์ฟให้ จะไม่ได้ให้เรายืนชดตรงนั้น
แล้วก็หลับยาวไปเลยครับ ผมจะเลือกนั่งริมทางเดิน จะได้ลุกไปห้องน้ำได้สะดวก และจะบอกคนที่นั่งข้างในว่าถ้ายูจะไปห้องน้ำแล้วไอหลับอยู่ ยูก้าวข้ามขาไอไปได้เลย (ยกเว้นผู้หญิงนะครับ)
ด้านล่างเป็นลิ๊งค์ที่เกี่ยวข้องครับ
เบียร์แบบต่างๆ https://trainingreform.com/index.php/training-blog/231-draft-beer-draught-beer-craft-beer-bottle-beer-2
พันธุ์องุ่นที่ทำไวน์ขาว https://trainingreform.com/index.php/training-blog/184-training-blog-88
พันธุ์องุ่นที่ทำไวน์แดง https://trainingreform.com/index.php/training-blog/199-training-blog-102
สุราหรือเหล้ากลั่น (Spirit) ประเภทต่างๆ https://trainingreform.com/index.php/training-blog/175-5
ความรู้เกี่ยวกับเหล้า Port และไวน์ประเภทต่างๆ https://trainingreform.com/index.php/training-blog/135-training-blog-47
ตัวอย่างข้อควรระวังในการดื่มแอลกอฮอล์บนเครื่องบิน https://trainingreform.com/index.php/training-blog/83-training-blog-8