Written by Nattapol Klanwari
การแข่งขันหรือการประกวดเพื่อความเป็นผู้ชนะ หรือผู้ที่ดีกว่า หรือดีที่สุดในวงการต่างๆ จะมีให้เห็นอยู่เป็นประจำ การชนะการประกวดหรือการแข่งขันในแต่ละครั้ง จะนำความภาคภูมิใจและชื่อเสียงมาให้กับผู้ชนะเอง ตลอดจนองค์กรที่ผู้ชนะนั้นสังกัดอยู่ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือมาตรฐานในภาพรวมขององค์กรหรือสังคมนั้นๆ แม้แต่ระดับประเทศด้วย
บทความนี้เป็นการสรุปเรื่องราวของสองบทความที่ผ่านไปแล้ว ท่านสามารถคลิ๊กเข้าไปอ่านปูพื้นก่อนก็ดีครับ
-
มาตรฐานฝีมือแรงงานระดับโลก (WorldSkills Occupational Standards) 1/2
-
การแข่งขันการเสิร์ฟระดับ World Class การตั้งเกณฑ์และการให้คะแนน 2/2
เป้าหมายหลักของการแข่งขันหรือการประกวดต่างๆ คือการทดสอบผู้เข้าร่วมแข่งขันหรือประกวดตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆ เช่น
- การแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานด้านด้านต่างๆ โดยมากจะเน้นงานอาชีพที่ต้องใช้ทักษะ เช่น ช่างแขนงต่างๆ ที่ต้องใช้ทักษะฝีมือที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ (Skills) เช่น ช่างเดินสายไฟฟ้า ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างปะผุเคาะพ่นสีรถยนต์ กุ๊กประกอบอาหาร พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ
- การแข่งขันที่เน้นความรู้ เช่น การแข่งขันคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งเน้นทางด้านความรู้ที่ต้องอาศัยการเรียนเฉพาะในแขนงวิชานั้นๆ ประกอบกับเชาว์ปัญญา (Intelligent Quotient - IQ)
- การประกวด เช่น ประกวดภาพวาด ประกวดเขียนเรียงความ การประกวดร้องเพลง ฯลฯ ซึ่งโดยมากมักใช้ความสามารถหรือลักษณะเด่นเฉพาะดัว ความสามารถพิเศษหรือพรสวรรค์ (Talent)
การแข่งขันซ่อมตัวถังรถยนต์ (Autobody Repair)
การแข่งขัน International Biology Olympiad - https://www.ibo-info.org/en/
การประกวดร้องเพลง
มนุษย์เรามีความถนัด ความสามารถ เส้นทางการมีโอกาสได้เรียนรู้หรือฝึกอบรมที่แตกต่างกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครหรือ ใครด้อยกว่าใครคงไม่ได้ สำหรับบทความนี้ผมขอเน้นที่ด้านทักษะฝีกมือแรงงานเป็นหลัก (Skill)
การเป็นผู้ชนะการแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานในการแข่งไม่ว่าในระดับใดก็แล้วแต่ ระดับสถาบัน ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับกลุ่มประเทศ หรือในระดับใหญ่ๆ เช่น ระดับนานาชาติย่อมเป็นที่น่าภาคภูมิใจและชื่อเสียงหให้กับผู้ชนะการแข่งขัน และสถาบัน หรือประเทศต้นสังกัด แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือการสร้างผู้เข้าร่วมการแข่งขันแบบเฉพาะกิจจนอาจมองข้ามมาตรฐานภาพรวมขององค์กรหรือประเทศ
ขอยกตัวอย่างสถานศึกษาแห่งหนึ่งต้องการสร้างผู้เข้าร่วมการแข่งขันการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ขั้นแรกก็ต้องเลือกเฟ้นนักศึกษาที่มีบุคลิกลักษะณะที่ดี การเรียนและการฝึกงานที่ดี ภาษาอังกฤษดี แล้วใส่การฝึกเพิ่มเติมให้เข้ม ตามโจทย์ในการแข่งขัน (ความจริงแล้วก็เป็นเรื่องที่นักศึกษาทุกคนที่เรียนต้องได้เรียนได้ฝึก) เช่น
- การจัดโต๊ะ
- การเสิร์ฟ
- การแล่ปลา แล่ไก่
- การดม ชิม แยกแยะ ไวน์
- การปอก ตัด หั่น จัดจานผลไม้
- การจัดดอกไม้
- ฯลฯ
สมมุติว่าสถาบันแห่งนี้มีนักศึกษาการโรงแรม 500 คน เน้นการฝึกอย่างเข้มสำหรับผู้ที่กำลังปั้นให้เข้าไปแข่งขัน คือเป็น 1/500 หรือคิดเป็น 0.2 % แล้วที่เหลืออีก 499 คน มีโอกาสฝึกเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้หรือไม่ ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณหรือความเชี่ยวชาญของอาจารย์ผู้สอนเอง ซึ่งอาจต้องจ้างมืออาชีพมาช่วยฝึกสอนให้ หรือส่งนักศึกษาคนนี้ไปเรียนรู้หรือฝึกที่เรียกว่าเก็บตัว เพื่อหวังการชนะการแข่งขัน ซึ่งต้องใช้งบประมาณมากอยู่เหมือนกันสำหรับคนๆ นี้
ผมมีประสบการณ์เห็นการทุ่มเทฝึกนักศึกษาแล่ปลา แล่ไก่ สำหรันคนๆ นี้จำนวนหลายสิบตัว หรือทำของหวานแบบ Flambe ทำแล้วทำเล่า ขณะดียวก็มีนักศึกษาคนอื่นๆ มายืนดู โดยไม่มีโอกาสแม้แต่จะแตะอุปกรณ์ที่ใช้เลย ผมรู้สึกหดหู่ใจอย่างไรก็ไม่ทราบ
การประกอบอาหารประเภท Flambe ซึ่งมักเป็นโจทย์งานหนึ่งของการแข่งแขันการบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Restaurant Service)
อีกตัวอย่างหนึ่งของการแข่งขันทักษะการพูดภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาจีน สถานศึกษาบางแห่งที่มีนักศึกษาที่มีคุณพ่อคุณแม่ที่พูดภาษาจีนอยู่แล้วและพูดกันที่บ้าน สถานศึกษาก็จะส่งนักศึกษาคนนี้เข้าแข่งขัน คงไม่ต้องเดาผลนะครับว่าจะเป็นอย่างไร
- ตกลงไช่ความสามารถในการสอนของสถานศึกษาแห่งนั้นหรือไม่?
- นักศึกษาคนอื่นๆ สามารถพูดได้หรือไม่?
ลองมาดูการเปรียบเทียบในกราฟ (ผมสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการทำความเข้าใจ) ระหว่างหน่วยงานหรือประเทศ A กับหน่วยงานหรือประเทศ B
หน่วยงาน A ด้านซ้ายมือ ตัวแทนเข้าแข่งขัน ชนะการแข่งขัน แต่ดูจำนวนนักศึกษาหรือพนักงานในภาพรวมที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เที่ยบกับหน่วยงาน B ด้านขวามือที่ไม่ได้เหรียญ ลองนึกถึงภาพรวมของมาตรฐานหรือคุณภาพในภาพรวมของทั้งอุตสาหกรรมนั้นของหน่วยงานนั้นหรือประเทศนั้น แท้จริงแล้วใครมีศักยภาพในการแข่งขันมากกว่ากัน
การสร้างผู้เข้าร่วมแข่งขัน และได้รางวัลเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่ต้องดำเนินควบคู่กันไปคือเรื่อง มาตรฐานภาพรวมของทั้งองค์กรหรือประเทศด้วย
เรามีคนเรียนเก่งๆ และเก่งด้านต่างๆ มากมาย แต่ไม่น่าเชื่อว่าปัจจุบันยังมีคุณครูหรือคุณครูผู้ช่วยที่ยังทำร้ายร่างกายและจิตใจเด็ก หรือลืมเด็กนักเรียนไว้ในรถ ล็อคปล่อยตากแดด โดยพูดเพียงว่า "คิดว่านักเรียนลงรถมาหมดแล้ว"
ไหนๆ ก็เกริ่นเรื่องการแข่งขันด้านวิชาการหรือด้านความรู้ไว้ตอนต้น ก็เลยขอแนะนำการบรรยายเรื่อง IQ เฉพาะบุคคลของเด็กไทยสูงขึ้น แต่ะในภาพรวมต่ำลง โดย อาจารย์ ดร.ลอย ชุนพงษ์ทอง เพื่อเราจะได้ช่วยส่งเสริมอะไรที่เราทำได้ เพราะจะอาศัยฮีโร่เพียง จำนวนระดับ 10 คนของประเทศคงไม่พอ ภาพรวมต้องไปด้วยกันทั้งระบบ คลิีกดูได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=lVUEK0B8ls4
ช่องนี้ ผม ลอย ชุนพงษ์ทอง สร้างเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย
Loy Academy