Written by Nattapol Klanwari
คนเราต้องทำงานหารายได้เพื่อยังชีพ และยังต้องสร้างความมั่นคงสำหรับอนาคต รวมถึงต้องพัฒนาความเป็นอยู่ พัฒนาศักยภาพ เพิ่มความรู้ความสามารถ ตลอดจนสร้างครอบครัว ต่อไปก็คือลูกและหลานของแต่ละครอบครัวต่อไปให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งแน่นอนว่ารายได้ต้องมากกว่ารายจ่ายถึงจะมีเงินเหลือเก็บหรือนำไปใช้พัฒนาส่วนต่างๆ ของชีวิตได้
ประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท มาเป็นระยะเวลาหนึ่งและเพิ่งมีการประกาศปรับขึ้นอย่างเป็นทางการโดยกระทรวงแรงงานอีกครั้งในปี 2563 ตามตารางที่แสดง โดยเฉลี่ยก็จะเป็นประมาณวันละ 320 บาท ถ้าทำงานวัน 8 ชั่วโมง ก็เท่ากับว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเท่ากับชัวโมงละ 40 บาท
จริงอยู่ว่าโดยทั่วไปแล้วคนไทยส่วนมากก็จะได้รับค่าจ้างกันมากกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด เช่น การทำงานชั่วคราว (Part Time) ในโรงแรม เสิร์ฟในงานจัดเลี้ยงขณะนี้อย่างน้อยก็วันละ 400 บาทเป็นอย่างต่ำ ถ้าเป็นช่างลูกมืออย่างน้อยก็วันละ 500 บาท แต่ถ้ารับจ้างทั่วๆ ไป แบกของ ขนของส่งของก็ได้อย่างน้อยวันละ 320 บาท
มาดูค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในประเทศอเมริกาและแคนาดากันครับ ค่าจ้างแรงงานในอเมริกาอย่างต่ำชั่วโมงละ 10 เหรียญสหรัฐอเมริกา คิดเป็นเงินไทยประมาณ 310 บาท ถ้าแคนาดาชั่วโมงละอย่างน้อย 13 CA$ หรือประมาณ 300 บาท ขณะนี้ 1 US$ = 31 บาท, 1 CA$ = 23 บาท
ผมจะยกตัวอย่างข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงที่ประเทศแคนาดาที่ผมกำลังใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่ ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำผมจะใช้ราคาที่ต่ำที่สุดที่จะได้รับในในการทำงานภายใน 1 วัน
https://ca.indeed.com/jobs?q=General+Labour&l=Toronto%2C+ON
ท่านผู้อ่านสามารถเช็คราคาค่าจ้างตำแหน่งงานต่างๆ ในเว็บที่ผมปะลิ๊งค์ไว้ได้ อย่างช่างก่ออิฐค่าจ้างชั่วโมงละ 38 CD$
ทีนี้เรามาดูค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในแต่ละวันกัน ผมใช้พื้นฐานค่าจ้างขั้นต่ำที่แคนาดาชั่วโมงละ 13 CA$ โดยถือค่าครองชีพที่เป็นจริงในเมืองเมืองหลักใหญ่คือที่ โตรอนโต้ เปรียบเสมือนเป็นกรุงเทพที่ไทย
- ค่าเดินทางในโตรอนโต้ เปรียบเป็นกรุงเทพและชานเมืองที่รถไฟฟ้าและรถเมล์ ขสมก ไปถึง ที่โตรอนโต้เรียก TTC (Toronto Transit Commission) เที่ยวละ 3 CA$ ไปกลับ = 6 CD$ สามารถใช้นั่งรถใต้ดิน (Subway) เปลี่ยนไปต่อรถราง (Street Car) และรถเมล์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเพิ่มอีก
รถเมล์ของ TTC และจะเห็นว่ามีการใช้จักรยานโดยมีเลนส์สำหรับให้จักรยานใช้โดยเฉพาะ
สภาพภายในรถเมล์ มาตรงเวลาที่ติดป้ายไว้ที่ป้ายรถเมล์และสามารถเช็คเวลาใน Google Map ได้
รถรางหรือ Street Car
รถไฟฟ้าใต้ดิน (Subway) ที่ให้บริการในโตรอนโต้
นั่นคือการเดินทางไปทำงานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ใช้บริการกันทั้งระดับผู้จัดการ คนทำงานออฟฟิต หรือแม้แต่กรรมการ ต่อไปมาดูเรื่องอาหารการกินกันบ้าง
อาหารที่ทานกันในฟู้ดคอร์ท (Food Court) ราคาจะอยู่ที่ประมาณ จานละ 8 - 12 CA$ ปริมาณมากอิ่มกันเลย ไม่ต้องซื้อเพิ่มจานที่สองอย่างแน่นอน น้ำดื่มหรือน้ำอัดลมขวดหรือกระป๋องละ 1.5 CD$ ถ้าต้องการประหยัดก็สามารถดื่มน้ำก๊อกได้ ไม่ต้องเสียเงิน
อาหารกล่องๆ นี้ 10 CS$
ราเม็งชามนี้ 12 CD$ เห็นชามเล็กๆ แบบนี้แต่เป็นชามก้นลึก ทานอื่มอย่างแน่นอนในชามเดียว
ถ้าต้องการประหยัดให้ราคาอาหารต่ำลงมาอีกก็สามารถพึ่งพาร้านฮ็อทด๊อก (Hot Dog) หรือ เบอร์เกอร์ (Burger) ก็ได้ ราคาก็ชิ้นละประมาณ 4 - 6 CD$ อิ่มได้เหมือนกัน
รีบด่วนและประหยัดเงินก็ร้านอย่างนี้เลย Hot Dog ราคา 4 - 6 CD$ ก็อิ่มแน่ๆ
นั่นก็เป็นพื้นฐานในการใช้จ่ายในการเดินทางและการกิน ในไปทำงานในแต่ละวัน ทีนี้มาดูราคาอย่างอื่นที่อาจซื้อเพิ่มเติมไปอื่ก เช่น
- กาแฟแก้วละ 3 - 5 CD$ ถึงแม้จะเป็นกาแฟ Starbucks ก็จะราคาประมาณนี้ ถ้าต้องการราคาถูกแต่รสชาติจะอ่อนหน่อย ก็เป็น Tim Hortons ราคา 1.5 CD$ (ผมใช้บริการบ่อย)
- เบียร์กระป๋องละ 2.5 CD$ ขนาดบรรจุ 500 CC (ที่ไทย 330 CC)
เขียนมาถึงตรงนี้สรุปว่าการทำงานที่แคนาดาสามารถ ใช้รายได้ของ 1 ชั่วโมงจ่ายค่าเดินทางไปกลับและค่าอาหารกลางวันได้อย่างสบายๆ ใช้ชีวิตสภาพแวดล้อมได้เช่นเดียวกับพนักงานที่ทำงานในสำนักงานหรือพนักงานออฟฟิตทั่วไป คือที่ 13 CD$ ที่เหลือสามารถนำไปจัดการเรื่องอื่นได้แล้วแต่แต่ละคน
ต่อไปลองเทียบค่าใช้จ่ายในกรุงเทพครับ
- ค่าเดินทาง ค่ารถเมล์ไปกลับเกิน 20 บาท อย่างแน่นอน ถ้าต้องใช้รถไฟ้าหรือใต้ดิน ไปกลับต้องเกิน 60 บาท
- ค่าอาหาร ถ้าเป็นร้านริมทางทั่วไปจานละไม่ต่ำกว่า 30 บาท ถ้าเป็นฟู้ดคอร์ทในห้าง จานละไม่ต่ำกว่า 40 บาท จานเดียวไม่อื่มแน่
ตัวอย่างโจ๊กชามนี้ราคา 50 บาท
เย็นตาโฟ 40 บาท ต้องกี่ชามถึงจะอิ่ม?
ที่แคนาดาใช้เงินจากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 1 ชั่วโมง (หรือ 1/8 = 12.5%) สำหรับการเดินทางและอาหารกลางวันได้อย่างพนักงานออฟฟิตทั่วๆ ไป สำหรับที่ไทยต้องใช้ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง (4/8 = 50%) บางคนเช้าต้องแวะร้านกาแฟอีก 1 แก้ว เอาราคาถูกๆ ก็ประมาณ 30 บาท ตกลงวันๆ แทบไม่เหลืออะไรเลย ไม่ต้องไปคิดว่าจะไปเสียเงินเรียนอะไรเพิ่มเติม หรือให้ลูกเข้าโรงเรียนอะไรที่เพิ่มการแข่งขันที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
มาถึงบบทัดนี้ผมขอเน้นย้ำว่าไม่ได้ระบุว่าที่ไหนดีกว่ากัน ที่ไหนแย่กว่ากัน แต่เป็นการระบุข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งมีผลกระทบกับผู้ทำงาน ผู้จ้างงาน สังคมและการพัฒนาประเทศในภาพรวมอย่างแน่นอน ซึ่งผมไม่มีความสามารถพอที่จะพูดถึงเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาคได้ แต่ที่เห็นแน่ๆ คือ
1. องค์กรต่างๆ ต้องมีการปรับระบบ (System) วิธีการ (Process) ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น นำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานให้มากขึ้น ที่จะช่วยลดการใช้แรงงานคน แต่ยังคงประสิทธิภาพหรือให้ได้ประสิทธภาพมากกว่าเดิม
2. พนักงานต้องพัฒนาศักยภาพในการทำงานทั้งงานที่เป็นทักษะฝีมือเฉพาะ (Skill) เพิ่มเติมความรู้ (Knowledge) ที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนแนวความคิดหรือทัศนคติการทำงาน (Attitude / Mindset)ที่เป็นแบบเดิมๆ เพิ่มความสามารถด้านการจัดการ (Management Skill) และการบริหาร (Administration) จะรอรายได้หรือเงินเดือนเพิ่มขั้นเพราะทำงานมานานคงไม่ได้แล้ว
ก่อนจบของฝากคลิปเรื่อง รวยกระจุกจนกระจาย ของอาจารย์ ดร.ลอย ชุนพงษ์ทอง เพื่อเข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ได้มากขึ้น
https://www.youtube.com/watch?v=bDX3u6figb8
คำนวณจากข้อมูลเงินฝาก พบว่า คนรวย 88,000 คน มีเงินฝาก เท่ากับคนที่เหลือ 68.9 ล้านคน คนมีอันจะกิน 1% มีเงินฝากเท่ากับ 67% ของเงินฝากทั้งประเทศ จะเป็นเศรษฐี 88,000 คน ควรมีเงินฝาก 15 ล้าน มีทรัพย์สิน 100 ล้าน จะอยู่ในยอดปิรามิด 1% ควรมีเงินฝาก 2.9 ล้าน มีทรัพย์สิน 19 ล้าบาท