เรามักจะชื่นชมการทำงานของพนักงานในประเทศตะวันตกกันมากเช่น ใช้คนน้อยทำงานมากๆ ได้ พูดง่ายๆ ว่าชมฝรั่งว่าทำงานใช้คนน้อย ผมขอตัดเรื่องเงินค่าตอนแทนออกไปก่อนไว้เขียนในตอนต่อๆ ไป ตอนนี้ขอพูดเรื่องการทำอย่างไรให้ในการทำงานโดยใช้คนน้อย
ถ้าติดตามอ่านบล็อกตอน "พนักงานเสิร์ฟที่ครบเครื่อง" ที่ทำงานอยู่คนเดียว จะเห็นได้ว่างานแทบทุกอย่างต้องมีการบริหารจัดการเข้าไปเกี่ยวข้อง จนกระทั่งทำเป็นประจำเป็นกิจวัตรประจำวันก็จะเข้าที่ และที่สำคัญที่สุดเป็นงานที่จำเป็นต้องทำจริงๆ หรือไม่ หรือมีงานที่ทำให้เสียเวลาโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยไม่จำเป็นหรือไม่ ก็ยอมรับว่างานทุกอย่างมีประโยชน์ทั้งไม่มากก็น้อย แต่มันจำเป็นต้องทำในเงื่อนไขที่ค่อนข้างบังคับ เช่น หาคนทำงานยาก ค่าจ้างก็แพง ฯลฯ หรือไม่
ขอยกตัวอย่างงานที่ต้องพิจารณาว่าจำเป็นก่อนหรือไม่ เช่น งานทำความสะอาดห้องพักของแผนกแม่บ้านที่ต้องให้พนักงานพับผ้าเช้ดตัวเป็นรูปแบบที่ยากๆ ใช้เวลานานในการพับ และต้องพับผืนต่อผืนคือพับไว้ก่อนไม่ได้ จะใช้แล้วค่อยพับ
หรือการพับผ้าเช็ดปาก (Guest Napkin Folding) รูปแบบยากๆ หรือการติดผ้าระบายรอบโต๊ะ (Skirting) ซึ่งต้องใช้เวลานานๆ
เราต้องพิจารณาว่าพนักงานมีเวลาที่เไม่มีงานอื่นที่สำคัญกว่าทำหรือไม่ แต่ถ้าจะพูดว่าก็ไม่รู้จะให้พนักงานทำอะไรแล้ว ก็แสดงว่าจ้างพนักงานมาเกินกว่างานที่จำเป็นต้องทำ อีกอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณาคือเราสามารถกำหนดว่าต้องทำงานชิ้นนั้น ไม่ว่าการพับผ้าเช็ดตัว การพับผ้าเช็ดปกาแบบยากๆ การติดผ้าระบายรอบโต๊ะ ฯลฯ เช่นนั้นได้อย่างดีทุกครั้งหรือตลอดไปหรือไม่ ถ้าไม่ได้เช่นถ้าแขกมากก็ไม่สามารถทำงาน ก็แสดงว่าไม่สามารถกำหนดเป็นมาตรฐานได้ ต้องรอให้แขกน้อยๆ แล้วจึงได้มาตรฐานเหล่านี้ ซึ่งนับว่าอันตรายมาก ถ้าอย่างนั้นก็รอให้แขกน้อยๆ แล้วค่อยมีมาตรฐาน ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายของการทำธุรกิจ
ดังนั้นธุรกิจสถานประกอบการคงต้องพิจารณาสิ่งที่สามารถทำได้แบบยั่งยืนแน่ๆ ให้เป็นมาตรฐานดีกว่า ไม่ใช่นกอยากทำก็ทำ ซึ่งเกิดความไม่คงเส้นคงวา ให้พนักงานทำงานในที่สำคัญเป็นอันดับแรกก่อนก่อนดีกว่ามั้ย