การทำงานแต่ละประเภทเราย่อมต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานนั้นๆ ผ่านกรณีต่างๆ มากพอที่จะสามารถอ่านเกมส์ที่จะเกิดขึ้นภายหน้าได้และพร้อมแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ประสบการณ์ย่อมต้องใช้เวลาให้กับงานชิ้นนั้นๆ ข้อสงสัยที่มักตามมาคือทำงานนั้นนานเท่าไรดี ทำนานๆ จะเรียกว่ามีความชำนาญหรือทำอะไรซ้ำซากจำเจกันแน่
ข้อแตกต่างระหว่างซ้ำซากจำแจกับความชำนาญที่เห็นได้ชัดเจนคือ พัฒนาการในการทำงานนั้นๆ ถ้าทำแบบเดิมๆ วิธีการเดิมๆ ผลผลิตเท่าเดิม (ความจริงแล้วลดลงด้วยเพราะต้นทุนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น) ฯลฯ นั่นเห็นได้ชัดว่าคือความซ้ำซากจำเจแน่นอน แต่หากงานนั้นมีวิธีการทำงานใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ได้ชิ้นงานใหม่ๆ แตกขยายผลิตภัณฑ์ออกไปได้อีก นั่นคือความชำนาญ
สิ่งที่เติมเข้าไปหรือใช้เข้าในการทำงานที่เปลี่ยนความซ้ำซากจำเจเป็นความชำนาญ ก็คือ Innovation หรือนวัตกรรม ที่จะช่วยตอบโจทย์การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
เราไม่สามารถใช้คำว่ามีทัศนคติที่ดี (Attitude) ต่อการทนทำงานโดยขาด Innovation แล้วบอกว่าทำงานนานรักงานซึ่งเป็นการหลอกตัวเองเพื่อให้ได้อยู่ใน Comfort Zone แบบสบายๆ