Written by : Nattapol Klanwari
การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกกิจกรรม ยิ่งเป็นภาคธุรกิจแล้วยิ่งมีความจำเป็นต่อสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะกับการแข่งขันบนเงื่อนไขของเวลา การแข่งขันที่สำคัญที่สุดมิใช่เพียงการแข่งขันกับคู่แข่ง แต่เป็นการแข่งขันกับตัวเอง ที่ไม่ต้องรอให้ใครมาไล่จี้หรือรอให้จวนตัว สร้างการเปลี่ยนแปลงของตัวเองซะก่อนเลย
ผมก็เป็นสาวกคนหนึ่งของไอศกรีม SWENSEN'S ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยสาเหตุสองสามประการ คือแทบทุกครั้งที่ไปทานข้าวกับลูกชายก็จะหาทานอาหารที่ราคาพอรับได้ ถ้าง่ายๆ ราคาไม่แพงในกรุงเทพก็คงเป็น Food Court ในห้าง จานหนึ่งสัก 40-50 บาท สองคนก็ประมาณ 100 บาท หรือกว่านิดหน่อย ที่นี้จะซื้อน้ำดื่มก็ขวดละอย่างน้อย 10 บาท บางแห่งก็ 15 บาท นึกขึ้นได้ก็ชวนกันไปทานไอคกรีมเป็นของหวานไปเลยและหาที่ที่เขาเสิร์ฟน้ำเปล่าฟรี จะได้ทุ่นค่าน้ำเปล่าไป (เลยเปิดเผยความลับเลยครับ) ก็มาลงเอยที่ SWENSEN'S และนอกเหนือจากนั้นก็ด้วยรสชาติของเนื้อไอศครีมที่เต็มที่ มีให้เลือกหลายรส นั่งคุยกันได้สบายๆ (ปกติผมคนเดียวก็แค่ไอศกรีมแท่ง 15 บาทในเซเว่น)
ไอศครีมนี้เริ่มจากการชื่นชอบไอศครีมเป็นการส่วนตัวของ Mr. Earle Sewensen's ชาวอเมริกัน เมื่อเขาเป็นกลาสีเรือ เขาพบกับเครื่องทำไอศกรีมขนาดใหญ่ในเรือในปี 1942 ได้โอกาสทำไอศกรีมเองซะเลย ทำไปแจกคนในเรือไป ทดลองรสชาติใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ พอปลดประจำการก็ใช้ฝีมือนั้นเปิดร้าน Swensen's Ice Cream ในปี 1948 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (เกษียณแล้วก้ยังไม่สายครับ, ข้อมูลจาก https://www.swensens1112.com/th/about-us) (ผมไม่ได้รับค่าโฆษณานะครับ)
พอเข้าร้าน นั่ง พนักงานก็จำเสิร์ฟน้ำเป็นแก้ว พร้อมกับยื่นรายการไอศกรีมให้ดูเพื่อการสั่ง ผมก็ต้องรีบดื่มน้ำเพราะกระหายมาจากการทานอาหารเสร็จแล้วยังไม่ได้ดื่มน้ำมา อย่างน้อยก็ต้องสองแก้วคือพนักงานก็ต้องนำเหยือกมารินให้ คือพนักงานจะเสิร์ฟน้ำเป็นแก้วๆ
เมื่อประมาณสองเดือนที่แล้วผมได้กลับไปทานอีกครั้งปรากฎว่าแทนที่พนักงานจะเสิร์ฟน้ำเป็นแก้วๆ ถ้าแขกดื่มหมดแล้วจึงค่อยนำเหยือกมารินให้ที่โตีะ ครั้งนี้พนักงานนำแก้วเปล่าพร้อมเหยือกน้ำที่มีน้ำอยู่ให้ลูกค้ารินเอง ดังภาพด้านล่าง
ผมก็ว่าดีนะครับยิ่งลูกค้าเช่นผมที่ดื่มน้ำมากๆ ก็จะได้ไม่ต้องเกรงใจที่จะต้องเรียกพนักงานให้มารินน้ำให้บ่อยๆ (เคยมีบางครังพนักงานยุ่งมากผมเดินไปรินเองเลย) ยิ่งแก้วที่จุน้ำไม่มากเช่นนี้ ผมดื่มคนเดียวอย่างน้อยก็ 3 - 4 แก้ว พนักงานก็ต้องเดินหลายรอบ
เรามาลองคิดเป็นตัวเลขสถิติการเดินเสิร์ฟแบบเล่นๆ (แต่เกิดขึ้นจริง) กันนะครับ ขณะนี้ SWENSEN'S ในประเทศมีสาขาอยู่ประมาณ 320 สาขา แต่ละสาขามีโต๊ะประมาณ 15 โต๊ะ โต๊ะละ 2 คนบ้าง 4 คนบ้าง ถัวเฉลี่ยโต๊ะละ 3 คนก็แล้วกัน ถ้ามีลูกค้ารอบละ 50% ก็ประมาณ 45 คน (15 โต๊ะ x 3 คน) 1 วันรับลูกค้าสัก 10 รอบ รวมลูกค้า 450 คน คิดแบบคร่าวๆ รวมๆ นะครับ บางสาขาน้อยบางสาขามาก, 320 สาขาก็รับลูกค้าวันละ (320x450) = 144,000คน
ถ้าเดินเสิร์ฟน้ำลูกค้าคนละอย่างน้อย 2 ครั้งก็เดิน 288,000 ครั้ง ถ้าเสิร์ฟเป็นเหยือกแล้วลูกค้ารินเอง (ลูกค้าก็ไม่มีปัญหาอะไร ยิ่งสำหรับผมผมชอบด้วยซ้ำไป) จำนวนครั้งในการเดินเสิร์ฟน้ำจะลดลงไปมากว่าครึ่่ง แน่นอนครับว่าต้องมีค่าเหยือกซึ่งก็ต้องมีการลงทุนกันบ้างเป็นธรรมดา แต่พนักงานจะมีเวลาในการทำอย่างอื่นมากขึ้น เช่น รับออร์เดอร์ เสิร์ฟ ติดตามออร์เดอร์ เก็บ ทำความสะอาดโต๊ะสำหรับลูกค้าคนต่อไป ฯลฯ
ท่านผู้อ่านลองนึกต่อไปสิครับว่าสิ่งที่สามารถทำได้ต่อไปคืออะไร เมื่องานลดลง นั่นคือสามารถลดจำนวนแรงงานแทนที่จะจ้างสมมุติ 15 คนก็อาจจะจ้างแค่ 12 คน ต้นทุนการจ้างแรงงาน (Labor Cost) ก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการบริการนิดหน่อย
หากธุรกิจโรงแรม (ขนาดกลางและเล็ก) ภัตตาคาร ร้านอาหาร และสถานที่บริการ (ที่มีลูกค้าใช้บริการโดยตรงในสถานที่) ต้องการการสำรวจวิเคราะห์การพัฒนาการบริการ ระบบการดำเนินงาน การควบคุมต้นทุน (ลดต้นทุน) กรุณาติดต่อใช้บริการของเราได้ หรือคลิ๊กส่งความต้องการได้ที่
http://www.trainingreform.com/index.php/training-7