Written by : Nattapol Klanwari
แก้วเครื่องดื่มต่างๆ ที่ใช้ในการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีมากมายหลายชนิด แก้วแต่ละรูปแบบก็ใช้สำหรับใส่เครื่องดื่มแต่ละประเภทที่จะใช้เสิร์ฟดื่มเครื่องดื่มนั้นๆ ผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวกับการบริการอาหารและเครื่องดื่มไม่ว่าจะเป็นบาร์เทนเดอร์หรือพนักงานในส่วนการบริการต้องมีความรู้และเลือกใช้ให้ถูกต้อง
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยวัดปริมาณหรือความจุของแก้วเครื่องดื่มก่อน เพราะจะมีผลโดยตรงกับปริมาณเครื่องดื่ม การคิดสูตรและการตั้งราคาขายด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณเครื่องดื่มมีดังนี้
1 CC (Cubic Centimetre) หรือลูกบาศก์เซ็นติเมตร = 1 CL (Centilitre) เซ็นติลิตร คือปริมาณเท่ากันจะเรียกอะไรก็ได้
1 CC หรือ 1 CL = 10 ML (Mililitre)
1 Ounce (OZ) หรือ ออนซ์ = 29.5735 ML หรือคิดง่ายๆ เป็น 30 ML เลยนะครับต่างไปเล็กน้อย
1 OZ = 3 CC หรือ 3 CL
เหตุผลที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณความจุเพราะสูตรเครื่องดื่มหรือค็อกเทลแต่ละประเภทจะมีเรื่องปริมาณของเครื่องดื่มต่างๆ ที่ผสมกัน เมื่อรวมกันแล้วต้องใช้แก้วที่มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณเครื่องดื่มนั้นเช่น
ค็อกเทลที่ชื่อ God Father นี้มี Scotch whisky 3.5 cl และมี Amaretto 3.5 cl รวมเป็น 7 cl หรือประมาณ 2.3 oz และกำหนดใช้แก้ว Old Fashion ต้องใช้แก้ว Old Fashion ที่มีความจุมากกว่า 7 cl และต้องเผื่อใส่น้ำแข็งตามสูตรด้วย ดังนั้นก่อนการซื้อแก้วเครื่องดื่มมาใช้ในภัตตาคารหรือบาร์ ต้องทราบปริมาณของเครื่องดื่มที่จะเสิร์ฟก่อนเพื่อเลือกซื้อแก้วได้อย่างเหมาะสม
แก้วเครื่องดื่มโดยที่วไปแบ่งออกเป็นแบบทรงตรง (Tumbler) และแบบมีก้าน (Stem) โดยมากจะเรียกชื่อแก้วตามชื่อของเครื่องดื่มหรือค็อกเทลที่ใช้ใส่ประจำๆ ต่อไปก็เริ่มทำความรู้จักแก้วเครื่องดื่มแต่ละประเภทกันเลย โดยใช้หมายเลขของแก้วด้านบนเป็นหลัก
1. แก้วเตกีล่าชูตเตอร์ (Tequila Shooter) หรืออาจเรียกว่าแก้วช็อต (Shot) ใช้เสิร์ฟสุราที่ไม่ผสมอะไร แบบดื่มรวดเดียวหมดแก้ว โดยเฉพาะ Tequila
2. แก้วโอลแฟชั่น (Old Fashioned) หรืออาจเรียกแก้วร็อก (Rock) ใช้เสร์ฟค็อกเทลที่มีปริมาณไม่มาก หรือแบบที่ใส่น้ำแข็ง 2-3 ก้อนที่เรียกว่า On the rock
3. แก้วไฮบอล (Highball Glass) ใช้เสิร์ฟเครื่องดื่มหรือค็อกเทลที่มีปริมาณมาก ถ้าเป็นค็อกเทลก็เป็นประเภทที่ต้องเติมเครื่องดื่มลงไปเพิ่มเช่นโซดา โดยอาจเรียกได้อีกชื่อคือแก้ววิสกี้ (Whisky Glass) เพราะใช้เสิร์ฟวิสกี้อยู่เป็นประจำแต่เป็นวิสกี้ผสมมิกเซอร์เช่น โซดา น้ำ โคล่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้แทนแก้วคอลลิน (Collins glass) ได้ โดยแก้วคอลลินจะมีทรงเล็กกว่าและสูงกว่าหน่อย ใช้เสิร์ฟค็อกเทลประเภทคอลลิน เช่น Tom Collin
4. แก้วเบียร์ (Beer Tumbler) ใช้เสิร์ฟเบียร์
5. แก้วเบียร์แบบมีก้าน (Stemed draft beer glass) มักใช้เสิร์เบียร์สด (Draft Beer)
6. เหยือกเบียร์ (Beer Mug) ใช้าเสิร์ฟเบียร์
7. แก้วมาร์ตินี (Martini Glass) ใช้เสิร์ฟเครื่องดื่มค็อกเทลชื่อ Martini
8. แก้ววิสกี้ซาวร์ (Whisky Sour Glass) ใช้เสิร์ฟเครื่องดิ่มค็อกเทลชื่อ Whisky Sour
9. แก้วแชมเปญซ๊อสเซอร์ (Champagne Saucer) ใช้เสิร์ฟแชมเปญ
10.แก้วแชมเปญทรงฟรุ้ต (Champagne Frute) ใช้เสิร์ฟแชมเปญ
11. แก้วมาร์การิต้า (Margarita Glass) ใช้เสิรืฟเครื่องดื่มค็อกเทลชื่อ Margarita
12. แก้วคอนญัคหรือแก้วบรั่นดี (Cognac / Brandy Glass) ใช้เสิร์ฟ Cognac หรือ Brandy
13. แก้วพีนาโคลาด้า (Pina Colada Glass) ใช้เสิร์ฟเครื่องดื่มค็อกเทลชื่อ Pina Colada
14. แก้วเชอร์รี่ (Sherry Glass) ใช้เสิร์ฟเหล้าไวน์ Sherry
15. แก้วไวน์ขาว (White Wine Glass) ใช้เสิร์ฟ White Wine
16. แก้วไวน์แดง (Red Wine Glass) ใช้เสิร์ฟ Red Wine
17. แก้วคอเดียล (Cordial Glass) ใช้เสิร์ฟเครื่องดื่มหลังอาหารจำพวก Liqueur เสิร์ฟแบบไม่ผสมอะไร
แก้วไวน์จะมีหลายลักษณะแล้วแต่การเลือกใช้ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ที่แน่ๆ จะมีก้านให้จับ แต่ก็ไม่แนนะครับในปัจจุบันก็มีการออกแบบแก้วไวน์ให้มีลักษณะแบบไม่มีก้านก็มี ก็ปรับเปลี่ยนไปตามแฟชั่น เช่นดังรูป
ไม่ว่าแก้วไวน์จะเป็นทรงไหนมักจะเห็นว่า Red wine glass จะใหญ่กว่า White wine glass ถ้าวางเทียบกัน เพราะถ้าเสิร์ฟเฉพาะอย่างใส่แก้วไหนก็ไม่มีใครรู้ ที่แก้วไวน์แดงใหญ่กว่าเพราะเนื่องมาจากความเหมาะสมของอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ โดยทั่วไปจะประมาณดังนี้
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ Beer ระหว่าง 5 °C - 8 °C
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ Champagne ระหว่าง 4°C - 8 °C
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ White wine ระหว่าง 10°C - 14 °C
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเสิร์ฟ Red ระหว่าง 16 °C - 20 °C
อุณหภูมิสำหรับการเสิร์ฟหมายรวมไปถึงการเก็บก่อนการเสิร์ฟด้วย มิใช่ว่าเก็บในอุณหภูมิห้องปกติพอถึงเวลาจะเสิร์ฟค่อยมาทำให้เย็น อุณหภูมิที่เย็นที่เหมาะสมต้องเย็นโดยตัวของเครื่องดื่มเองไม่ใช่การใส่น้ำแข็งในเครื่องดื่มให้เย็น เพราะน้ำแข็งจะละลายมีน้ำปนในไวน์หรือเบียร์ทำให้รสชาติจางลงไป
ไวน์ขาวและแชมเปญจะเสิร์ที่อุณภูมิที่เย็นกว่าไวน์แดง จึงมักมีถังแช่ไวน์ขาวไว้ด้วยขณะบริการที่โต๊ะแขก เพราะโดยปกติไวน์ขาวจะอยู่ในตู้แช่ไวน์เมื่อนำออกมาจากตู้ก็จะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น จึงต้องแช่ในถังแช่ไวน์และรินใส่แก้วให้แขกน้อยกว่าไวน์แดง พูดง่ายๆ ว่าแช่ไว้ในถังแช่ไวน์ให้อุณหภูมิเย็นเข้าไว้พอจะดื่มแล้วค่อยรินแต่เฉพาะที่จะดื่มไม่รินค้างไว้ในแก้วมากๆ นั่นเอง
สำหรับไวน์แดงแขกบางท่านก็ขอให้แช่ในถังแช่ไวน์ ถึงแม้ในตำราการเสิร์ฟจะระบุว่าเสิร์ฟที่อุณหภูมิของห้องในขณะนั้น (Room Temperature) แต่ตำรานั้นเขียนในประเทศตะวันตกที่อุณหภูมิห้องประมาณ 15 °C สำหรับประเทศไทยที่เป็นประเทศร้อนจะใช้ตำรานั้นไม่ได้ ขนาดเปิดเครื่องทำความเย็นหรือเปิดแอร์แล้วอุณหภูมิจะอยู่ที่ 25 °C หรือสูงกว่า ไม่ต้องพูดถึงห้องอาหารที่ไม่มีแอร์ อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 35 °C เป็นเหตุผลว่าทำไมแขกบางท่านถึงขอให้แช่ไวน์แดงในถังแช่ไวน์ด้วย
นอกเหนือจากตัวของไวน์หรือเบียร์ต้องเย็นตามกำหนดแล้ว อุณหภูมิของแก้วก็มีส่วนเป็นอย่างมากในการทำให้อุณหภูมิของไวน์หรือเบียร์นั้นหมดความเย็น ไวน์หรือเบียร์เย็นได้ที่แต่พอรินใส่แก้วที่มีอุณหภูมิ 37 °C ภายใน 1 นาที อุณหภูมิของไวน์หรือเบียร์นั้นจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมักต้องนำแก้วไวน์หรือแก้วเบียร์แช่เย็นไว้ให้พร้อมสำหรับการเสิร์ฟ หากต้องการให้การบริการไวน์หรือเบียร์ที่มีคุณภาพจริงๆ
ถ้าหากท่านผู้อ่านคิดสูตรผสมค็อกเทล (Cocktail) หรือ ม็อกเทล (Mocktail) คือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ แบบต่างๆ ก็สามารถเลือกใช้แก้วแบบต่างๆ ข้างต้นให้เหมาะสมได้ด้วยตัวท่านเอง หรืออาจจะออกแบบแก้วโดยเฉพาะของสูตรเครื่องดื่มของท่านเองก็ได้