Written by : Nattapol Klanwari
ขอเข้ามาเขียนเพิ่มเติมในบทความนี้หน่อยนะครับ ขณะเขียนครั้งแรกนั่งเบลอๆ อยู่ที่สนามบินอินชอบที่เกาหลีใต้ สั่งเบอร์เกอร์กับกาแฟร้อนมาทาน แล้วสื่อสารกับพนักงานเสิร์ฟสาวๆ ชาวเกาหลีซี่งเธอใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ต่างกับในอดีตมากเลยครับ มานึกขึ้นได้ว่าต้องเพิ่มตัวอย่างการกระทำที่ชัดเจนมาก
ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องภาษาอังกฤษมาหลายบทความ แต่ในการทำงานจริงโดยเฉพาะด้านการบริการลูกค้า เช่น การบริการอาหารและเครื่องดื่มหรืองานร้านอาหารซึ่งปัจจุบันร้านอาหารที่ไม่ใช่ร้านอาหารในโรงแรมหลายแห่งมักจ้างพนักงานจากประเทศเพื่อนบ้านเช่น เมียนมา กัมพูชา และลาว มาทำงานเสิร์ฟเพราะจะหาพนักงานชาวไทยมาทำงานนี้ค่อนข้างยาก เมื่อพนักงานเหล่านี้มาทำงานก็ต้องสื่อสารกับลูกค้าชาวไทยเป็นส่วนใหญ่ และถูกคาดหว้งให้พนักงานสื่อสารภาษาไทย ที่นี้แหละครับไม่ใช่เรื่อปัญหาของภาษาอังกฤษแล้ว แต่เป็นปัญหาการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง
ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับน้องๆ ชาวเมียนมาที่ทำงานบ้านที่บ้านของคนรู้จัก โดยมากเมื่อมาอาศัยและทำงานในประเทศไทยเขามักจะมีชื่อภาษาไทยกันเพื่อให้เรียกง่าย อย่างน้องคนนี้ใช้ชื่อไทยว่า "เอก" แต่เป็นผู้หญิง พ่อของเอกทำงานเป็นช่างซ่อมบ้าน แม่ขายอาหารอยู่ที่ประเทศเมียนมาแต่ด้วยรายได้น้อยกว่าการทำงานที่ประเทศไทย เอกจึงตัดสินใจเลือกมาทำงานที่ประเทศไทยโดยการแนะนำต่อๆ กันจากเพื่อนที่อยู่ที่ไทยแล้ว
ผมได้ช่วยที่บ้านนี้เปลี่ยนลูกบิดบานประตูและเอกก้ได้คอยให้การช่วยเหลือในการทำงานโดยเน้นที่การเช็ดทำความสะอาด แต่เอกสามารถมองงานช่างออกและให้ความช่วยเหลือได้ทะมัดทะแมง เหมือนคนมีประสบการณ์ เช่น หยิบไขควงปากแฉกส่งให้เมื่อเห็นผมหยิบตะปูควงหัวแฉก เมื่อผมหยิบตะปูควงตัวอ้วนมาใส่รูแล้วใส่ไม่ได้ เอกก็หยิบตัวผอมส่งให้ แสดงให้เห็นว่าเอกต้องเคยช่วยพ่อทำงานช่างมาก่อน น่าเสียดายพวกเขามีความรู้ความสามารถ แต่ต้องได้รายได้ที่น้อยโดยเฉพาะการทำงานในประเทศของตัวเอง โอกาสไม่เอื้อให้พวกเขา
มาเน้นที่เรื่องการสื่อสารดีกว่าครับ เอกมาทำงานแรกคือร้านอาหารตามสั่งซึ่งเจ้าของร้านเป็นคนไทย สิ่งที่เจ้าของร้านกำหนดคือพนักงานต่างชาติที่จะเข้าทำงานได้ต้องสามารถพูดภาษาไทยได้ ถึงแม้เอกจะดูพูดได้แต่ก็ไม่เข้าใจลึกซึ้งในภาษาไทยมากนักจากการที่ได้พูดคุยกัน เอกเล่าให้ฟังว่าเดือนแรกที่ทำงานร้านอาหารเงินเดือนแทบไม่เหลือเลย ไม่ใช่ว่าเธอเป็นคนฟุ่มเฟือย แต่เป็นเพราะเธอถูกเจ้าของร้านหักเงิน ถ้าพนักงานคนใดรับคำสั่งอาหารผิดพลาดเมื่อมาสั่งกุ๊ก กุ๊กทำอาหารให้แล้วแต่ลูกค้าปฏเสธบอกว่าไม่ใส่อาหารที่สั่ง พนักงานคนนั้นจะต้องออกเงินชดใช้ราคาอาหารจานนั้นและนำไปทานเอง
จากตัวอย่างนี้เป็นเรื่องที่ฉีกออกไปจากการสื่อสารภาษาอังกฤษแล้ว กลายเป็นต่างชาติที่มาเป็นพนักงานสื่อสารภาษาไทย จากการสอบถามและพูดคุยกับเอกก็จับประเด็นได้ว่า
1. เอกไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง (ก็ไม่ต่างกับคนไทยที่ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้งเช่นเดียวกัน)
2. เอกอ่านและเขียนภาษาไทยไม่ได้ ใช้วิธีจำแล้วไปพูดบอกับกุ๊กในครัว
3. รายการอาหารในเมูเป็นภาษาไทย ไม่มีรูปประกอบ
4. ลูกค้าชาวไทยมีรายละเอียดในการสั่งที่เพิ่มเติมมาก เช่น เผ็ดปานกลาง ไม่ใส่กระเทียม น้ำข้น น้ำใส ฯลฯ
ผมก็ลองนีกเปรียบเทียบกับพนักงานชาวไทยที่รับคำสั่งอาหารเป็นภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ ซึ่งจริงๆ แล้วง่ายกว่า เพราะเรายังพอคุ้นเคนกับภาษาอังกฤษและฝรั่งเองก้ไม่ค่อยมีรายละเอียดในการสั่งมากเท่าชาวไทย
ผมจึงเน้นย้ำบ่อยๆ ว่าควรใช้ภาพประกอบหรือสื่อในการสื่อสารโดยเฉพาะรายการอาหารหรือเมนู ใส่ภาพประภาพอาหารให้เห็นชัดเจนไปเลย
ถ้าร้านอาหารที่เอกไปทำงานมีภาพประกอบดังในภาพอย่างชัดเจน เพียงแค่ลูกค้าชี้ว่าต้องการรายการไหนโดยการชี้ เอกก็คงทำงานอย่างมีความสุข ลูกค้าก็ไม่ต้องอารมณ์เสียกับการสั่งที่ยุ่งยากได้อาหารผิดไปจากที่ต้องการ เจ้าของร้านไม่ต้องมาคอยขอโทษลูกค้าและลงโทษพนักงานอย่างที่เป็นอยู
พอดีนึกขึ้นได้ว่าเคยไปรับประทานก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัวแถวๆ เพลินจิต ราคาสูงพอสมควรถ้าจำไม่ผิดน่าจะราคาชามละ 110 บาท แต่อร่อยมากครับสมราคา ไม่เสียดายเงินที่จ่ายไป และที่ร้านนี้มีตัวอย่างของวิธีการสั่งก๋วยเตี๋ยวที่เข้าใจง่าย พนักงานก็เป็นต่างชาติ ไม่ต้องพูดสื่อสารอะไรกันให้ยุ่งยาก ดูรายละเอียดในกระดาษที่ใช้สำหรับสั่งแล้วทำเครื่องหมายเองได้เลย ท่านผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลยครับ ใส่รายละเอียดเพิ่มเติมตามที่ท่านต้องการได้เลย