Written by : Nattapol Klanwari
ในช่วงการทำกิจกรรม Team Building ให้กับองค์กรหนึ่ง ช่วงพักเหนื่อยก็มีคุณหมอท่านหนึ่งเป็นทีมเจ้าของและผู้บริหารของคลินิกเสริมความงาน มีสาขาอยู่ประมาณ 30 แห่ง ที่นั่งสังเกตพฤติกรรมของพนักงานที่กำลังทำกิจกรรมซึ่งผมก็ทำ Service Development ให้องค์กรของท่านด้วย ท่านก็ถามว่า ทำไมเวลาทำกิจกรรมแบบนี้พนักงานดูมีความรักใคร่กลมเกลี่ยวกันดีมาก ทำอะไรช่วยเหลือกัน ไม่เกี่่ยงกัน ไมเห็นเหมือนเวลาทำงานเลย
ตอนนั้นผมก็ตอบคุณหมอไปแบบไม่มีแก่นสารอะไรมากมาย ขณะนั้นไม่มีเวลารวบรวมสาเหตุหรือเหตุผลเท่าไร มาขณะนี้เวลาก็ผ่านไปประมาณ 8 ปีแล้ว ก็กลับมานั่งทบทวนสิ่งต่างๆ ก็เลยนึกถึงคำถามนี้ ผมก็จะไล่เรียงประเด็นต่างๆ เพื่อตอบคำถามนี้
ช่วงที่่พนักงานออกไปทำกิจกรรมที่่เรียกว่า Outing บ้าง Team Building บ้าง จริงๆ ส่วนหนึ่่งก็คือการออกไปเที่ยว เพื่่อความสนุกสนานด้วย ซึ่งใครๆ ก็ชอบ แต่ก็ไม่ 100% เพราะมีบางคนไม่อยากออกไปก็มี ด้วยสาเหตุต่างๆ กัน มีลูกเล็กบ้าง ไม่ชอบสังคมวุ่นวายบ้าง มีนะครับไม่ใช่ไม่มี ดังนั้นเวลาผมพูดหรือทำอะไรผมมักจะออกตัวไว้ก่อนว่าอย่าหวังอะไรที่่ 100% เอาเป็นว่าส่วนใหญ่ชอบก็แล้วกัน การออกไปก็เท่ากับเป็นการออกไปจากบรรยากาศของที่ทำงาน เป็นสถานที่ใหม่ ได้ทำกิจกรรมใหม่ๆ ต่างจากการทำงานโดยสิ้นเชิง
ในการทำกิจกรรมพนักงานก็จะได้รับโจทย์ เช่น สร้างนั่นสร้างนี่ แข่งขันกันทำอะไรต่อมิอะไร ต่างคนต่างใช้ศักยภาพออกมาเต็มที่่ ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ ทดลอง เสียสละ ทุ่มเท ไม่เกี่่ยงงอน ไม่ตำหนิว่าคนโน้นไม่ทำคนนี้ไม่ทำ ช่วยเหลือผู้ที่่อ่อนแอกว่า ไม่กลัวเหน็ดกลัวเหนื่อย ช่างเป็นภาพที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เอาละครับลองมาดูสาเหตุที่พนักงานทุ่มเทกับกิจกรรมเหล่านี้กันว่าเป็นเพราะอะไร แล้วเปรียบเทียบกับการทำงานในที่ทำงาน ข้อต่อข้อเลยครับ
1. กิจรรมนั้นมักเป็นกิจกรรมใหม่ โจทย์ใหม่ ยิ่งถ้าไม่เคยทำมาก่อนหรือไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อนยิ่งชอบ รู้สึกท้าทาย
⇒ ที่ทำงานเป็นงานที่ทำซ้ำประจำๆ เหมือนๆ กันทุกวัน ลองถ้ากิจกรรมที่เล่น ได้เคยเล่นมาก่อนหรือทราบก่อนว่าจะให้ทำอะไรก็จะมีความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง
2. กิจกรรมนั้นทำครั้งเดียวแล้วเลิก ไม่มีผลต่อเนื่องตามมาอีก
⇒ การทำงานในที่่ทำงานเป็นสิ่งที่สร้างผลต่อเนื่่องตามมา มีผลกระทบ และประสานกันเป็นวงกว้าง
3. กิจกรรมที่ทำครั้งเดียว เสียสละครั้งเดียว ไม่มีอะไรได้ทันเปรียบเทียบ
⇒ ที่่ทำงานใช้เวลาสืบเนื่องเป็นเดือนเป็นปี มีข้อเปรียบเทียบกันตลอดว่า คนนั้นทำ คนนั้นไม่ทำ โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทน
4. กิจกรรมมีผลประโยชน์และการลงทุนระยะสั้น ได้รางวัลก็ครั้งเดียว แพ้การแข่งขันก็ครั้งเดียว เสียสละให้ก็ครั้งเดียว ไม่ซ้ำ
⇒ ที่ทำงานเกิดผลประโยชน์ต่อเนื่องยาวนาน เช่น การขึ้นเงินเดือนมันเป็นสิ่งที่ติดตัวไปเป็นปี ถ้าช่วยจนกลายเป็นหน้าที่มันอยู่กับระบบตลอด
5. กิจกรรมเกิดขึ้น 1 กิจกรรมต่อ 1 ขณะเวลา สามารถทุ่มเทกับกิจกรรมชิ้นนั้นเชิ้นเดียว โดยมากก็จะให้วัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมให้เหมือนกัน เท่าๆ กันที่เตรียมไว้แล้ว
⇒ ที่ทำงานกิจกรรมหรืองานเกิดขึ้นซ้อนกันหลายๆ เรื่องในเวลาเดียวกัน และมีแผนกต่างๆ เกี่ยวข้องมากมาย รู้ว่าจะใช้อะไร ขอซื้อไม่ได้บ้าง ช้าบาก ยากบ้าง มีขั้นตอนเยอะบ้าง
6. กิจกรรมที่เกิดขึ้นสั้น ยังไม่ทันรู้ว่าอะไรเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาระยะยาว เป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้วจบกัน
⇒ ที่ทำงานมีปัญหาที่ซับซ้อน อาจหมักหมม เป็นปัญหาที่รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง แก้ได้บ้าง แก้ไม่ได้บ้าง ค้างคาอยู่มากมาย มีผลกระทบต่อหลายสิ่งหลายอย่าง
7. กิจกรรมมีความเสี่ยงต่ำ อาจรู้สึกว่าแพ้อีกลุ่มหนึ่ง อาย แต่ก็แบบสนุกๆ ไม่เสียหายอะไรมากมาย
⇒ ที่ทำงานมีความเสี่ยง ต่อการทำงาน รายได้ รวมถึงอนาคตด้วย
ที่เขียนมาทั้งหมดมิได้หมายความว่าการพาพนักงานออกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ไม่ดี ต้องมีการออกไปเปลี่ยนบรรยากาศบ้างซึ่งดีครับ แต่ต้องมีการปรับเรื่องต่างๆ ในที่ทำงานให้สอดคล้องกับประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น ในที่ทำงานควรมีอะไรที่แปลกใหม่ ท้ายทาย รวมถึงการเข้าถึงการแก้ปัญหาที่เป็นอุสรรค์ในการทำงาน โดยเฉพาะปัญหาที่พนักงานไม่กล้าพูด หรือมีความรู้สึกว่าพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ต้องหาวิธีรู้ถึงปัญหาเหล่านั้นให้ได้ แก้ไขได้มากหรือน้อย เร็วหรือช้า ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หรือไม่รู้อีกต่างหากว่ามีอะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรค อย่าให้ปัญหาหมักหมมจนพนักงานเกิดความเบื่อหน่ายและหมดกำลังใจ จะรอหวังพึงการออกไปทำ Team Building ปีละครั้งคงไม่พอ
กรุณาคล๊กดูรายละเอียด การวิเคราะห์อุปสรรรคและปัญหาในการให้บริการและการจัดการและการปรับปรุง (Problem Analysis and Improvement Procedure for Customer Service and Management)
กรุณาคลิ๊กตูหัวข้อเกี่ยวกับ ผู้นำและการจัดการ (Leader and Management)