Photo by Thought Catalog on Unsplash
Written by : Nattapol Klanwari
ปัจจุบันอาหารเช้าแบบตะวันตกไม่ได้มีบริการเฉพาะแขกหรือนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือทำงานในประเทศไทย ชาวไทยเราเองก็นิยมทานอาหารเช้าแบบตะวันตกตามไปด้วย ทั้งที่โรงแรมที่พักตลอดจนการทานที่บ้าน
คนไทยเราทานอาหารเช้าแบบปกติที่เหมือนๆ กับอาหารกลางวันและอาหารเย็น เรียกว่าตื่นมาก็ทานขนมจีนแกงเขียวหวานไก่ หรือลาบ ส้มตำกันได้เลย จนฝรั่งงงกันไปเลยร้องอุทาน OMG (Oh My God) เพราะในวัฒนธรรมของชาวตะวันตกจะไม่ทานอะไรที่แซ่บๆ ตั้งแต่เช้า หรือไม่ทานเนื้อสัตว์แบบเป็นล่ำเป็นสันแบบอาหารกลางวันหรืออาหารเย็น ไหนๆ ก็ทานหรือจัดการบริการขายอาหารเช้าแบบตะวันตกแล้วก็มาทำความเข้าใจกับความเป็นอาหารเช้าแบบตะวันสักหน่อยจะได้ทานและจัดการบริการได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาหารเช้าในภาษาอังกฤษจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างจากอาหารกลางวันและอาหารเย็น กล่าวคืออาหารกลางวัน = Lunch สำหรับอาหารเย็น = Dinner ซึ่งเป็นคำเฉพาะไม่ต้องพาให้งงงวย แต่สำหรับอาหารเช้าเรียกว่า Breakfast ซึ่งประกอบด้วยคำว่า Break และ Fast
คำว่า Break แปลตรงตัวว่า หยุด พัก หรือระงับ ก็ปกติอย่างที่เราเข้าใจกัน แต่สำหรับคำว่า Fast หรือ Fasting นอกเหนือจากการแปลว่าเร็วแล้วยังแปลได้อีกอย่างว่า การอดอาหาร สำหรับกรณีนี้แปลว่า "การอดอาหาร" (กรณีที่ต้องการคำแปลในดิกชันนารีต้องคีย์แบบมี ing ด้วยนะครับ) เมื่อนำสองคำนี้มาผสมกันก็จะหมายถึง "การพักหรือหยุดการอดอาหาร" ซึ่งการอดอาหารมีทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ถ้าตั้งใจอดอาหาร เช่น การอดอาหารเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจาะเลือดหรือผ่าตัด หรือการถือศีลอด สำหรับการอดอาหารแบบไม่ตั้งใจเช่น การนออนกลางคืนแล้วไม่ได้ทานอาหารจนเช้า (อาจมีบางคนตื่นมาต้มมาม่าทานตอนตี 3 นั่นก็อีกเรื่องนะครับ)
Breakfast สามารถเรียกว่าเป็นอาหารมื้อแรกของวันใหม่ก็ได้ (First Meal of the Day) หลังจากที่ไม่ได้ทานอาหาร (อดอาหารแบบไม่ตั้งใจมาทั้งคืน) เรามาดูตัวอย่างอาหารที่จัดอยู่ใน Breakfast แต่ละรายการกันเลยดีกว่า
1. ผลไม้หรือน้ำผลไม้ (Fruit or Fruit Juice)
เป็นรายการที่เน้นวิตามินซี เพื่อให้ความสดชื่นกระชุ่มกระชวยสำหรับการเริ่มวันใหม่ ถ้าเน้นที่คุณภาพให้ดีที่สุดก็ควรเป็น ผลไม้สด (Fresh Fruit) หรือน้ำผลไม้สด (Fresh Fuit Juice) หากเป็นน้ำผลไม้ 100% ที่บรรจุกล่องหรือกระป๋องอย่าเรียกว่า Fresh นะครับ เพราะถ้า Fresh จะต้องคั้นสดๆ เช่น น้ำส้มคั้น เป็นต้น และที่สำคัญไม่ควรนำน้ำอัดลมเช่น น้ำส้มที่เป็นน้ำอัดลมมาบริการแทน เพราะจะมีความเป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหารได้
หากท่านผู้อ่านมีโอกาสไปต่างประเทศที่อาจหาผลไม้สดทานยาก ยิ่งในอดีตที่การส่งผลไม้ไปขายยังต่างประเทศเป็นไปด้วยความยากเย็น ต่างจากปัจจุบันที่มีผลไม้สดทานได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะผลไม้จากจีน เราอาจได้พบกับการเสิร์ฟหรือบริการด้วยผลไม้แห้ง เช่น ลูกพรุนแห้ง เป็นต้น
ด้วยการแข่งขันการให้บริการและสร้างคุณค่า (Value) ในการบริการให้มากขึ้นห้องหาอาหารในโรงแรมบางแห่งอาจจัดให้มีการทำสมูตดี้ (Smoothy) บริการแบบสดๆ กันเลยทีเดียว
2. ขนมปังแบบต่างๆ (ฺBread) หรืออาจเรียกว่าขนามอบแบบต่างๆ (Baked Products) เป็นรายการอาหารที่เน้นแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต เช่น
- โทส (Toast)
Photo by Calum Lewis on Unsplash
- ครัวซอง (Croissant)
Photo by Kavita Joshi Rai on Unsplash
- วัฟเฟิล (Waffle) เสิร์ฟกับน้ำผึ้ง (Honey Syrup)
Photo by Lindsay Moe on Unsplash
- แพนเค้ก (Pancake) เสิร์ฟกับน้ำผึ้ง (Honey Syrup)
Photo by Calum Lewis on Unsplash
- เฟรนซ์แดนนิสเพสทรี้ (French Danish Pastry)
Photo by Sara Cervera on Unsplash
3. ซีเรียล (Cereal) อาหารจำพวกธัญพืชอบกรอบ
- คอนเฟล็ก (Cornflex) เสิร์ฟกับนมสด
Photo by Calum Lewis on Unsplash
5. อาหารประเภทไข่และแฮม ไส้กรอก หรือเบคอน (Eggs and Ham, Sausage or Bacon)
- ฟรายด์เอก หรือไข่ดาว (Fried Eggs)
Photo by Gabriel Gurrola on Unsplash
- ออมเล็ต (Omelet) ไข่เจียวทีทม้วนเป็นทรงกลมรีๆ
- สแกมเบิ้ลเอก (Scambled Egg) เป็นไขที่ยีหรือกคน ในกะทะ (ขอแนะนำให้เรียกทับศัพย์ไปเลยดีกว่า ไม่ต้องแปลว่า "ไข่คน")
Photo by Gian Cescon on Unsplash
- ไข่ลวก (Boiled Eggs)
Photo by Enrico Mantegazza on Unsplash
- แฮม ไส้กรอก เบคอน (Ham, Sausage or Sausage)
6. ซีสหรือเนยแข็ง (Cheese)
Photo by Alana Harris on Unsplash
7. เครื่องดื่มร้อน (Hot Beverage)
Photo by Cyril Saulnier on Unsplash
สำหรับเครื่องดื่มร้อน ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ชา หรือกาแฟเท่านั้น อาจเป็นโกโก้ ไม่โล โอวัลติน นมสด ได้อีกมากมาย ห้องอาหารต่างๆ ควรมีติดไว้ด้วยเพราะอาจมีแขกบางท่านที่ไม่ดื่มชา หรือกาแฟก็มี
บางแห่งมีการบริการแชมเปญ (Champagne) ร่วมด้วย โดยเฉพาะวันอาทิตย์ที่จัดเป็น Sunday Brunch เพื่อให้ได้ถอนกัน ฝรั่งใช้ถอนแต่คนไทยใช้ตอกเสาเข็มหนักเข้าไปอีก
http://summerwind41490.blogspot.com/2017/08/how-to-host-champagne-tasting-at-home.html
สำหรับการที่แบ่งว่าเป็นอาหารเช้าแบบอเมริกัน (American Breakfast) และ อาหารเช้าแบบยุโรป (Continental Breakfast) ถ้าเป็นแบบยุโรปก็ตัดอาหารประเภทไข่และเนื้อ (Eggs and Ham, Sausage or Bacon) ออกไป ซึ่งที่จริงแล้วชาวอเมริกันก็คือชาวยุโรปที่อพยพเดินทางไปตั้งรกรากในทวีปอเมริกา และสร้างวัฒนาธรรมใหม่ขึ้นมาเป็นของตนเอง
การที่เราคุ้นกับ American Breakfast ก็เพราะเราคุ้นเคยเห็นการใช้ชีวิตการทานอาหารเช้าของเขาสมัยที่มีการตั้งฐานทัพอากาศในประเทศไทย ช่วงครามเวียดนาม ระหว่างปี 2504 - 2518
คนไทยที่ร่วมทานอาหารเช้ากับทหารอเมริกัน ทนไม่ไหวที่ต้องทานไข่ดาวหมูแฮม ราดด้วยด้วยซ๊อสมะเขือเทศ (Tomato Sauce หรือ Ketchup) ยังไงก็ต้องทานข้าว เลยจับอาหารเข้าแบบอเมริกันคลุกข้าวซะเลย จนเกิดเป็น American Fried Rice ที่คนอเมริกันไม่รู้เรื่องอะไรด้วยเลย
ขอบคุณภาพจาก https://cooking.kapook.com/view71413.html