E-mail : klanwari@gmail.com             Tel - Line ID : 081 890 4988 

ทิป (TIPS)

การใช้บริการต่างๆ ที่ลูกค้าได้รับจากพนักงานไม่ว่าจะเป็นในโรงแรม ห้องอาหาร ภัตตาคาร รถแท็กซี่ หรือจ้างทำงานต่างๆ เช่น ซ่อมแซมสิ่งเล็กๆ น้อยๆ หรือการส่งของ เช่น การส่งอาหารถึงบ้าน นำรถไปจอดและนำรถมาให้ลูกค้า หรือแค็ดดี้ที่ทำหน้าที่ถือถุงกอล์ฟและดูแลนักกอล์ฟขณะออกรอบเล่นกอล์ฟ ลูกค้าก็มักจะให้เงินพิเศษนอกเหนือจากราคาสินค้า ที่เรียกง่ายๆ ว่า ทิป (TIPS)

คำว่าทิปมาจากภาษาอังกฤษที่เรียกกันมา บางข้อมูลก็จะอธิบายว่าเป็นอักษรย่อจากคำต่างๆ มากมายแต่ไม่มีหลักฐานยืนที่อ้างอิงได้จึงไม่ขอพูดถึงแง่มุมของภาษาแต่จะกล่าวถึงในการทำงานบริการดีกว่า

ทิปเป็นการให้รูปแบบของเงินนอกเหนือจากราคาสินค้าหรือบริการหลักที่ลูกค้าใช้บริการ เมื่อเสร็จสิ้นการให้บริการ มีความหมายว่า ขอบคุณสำหรับการทำงานแทนฉันในเรื่องนี้  มีรูปแบบการให้ทิปหลายลักษณะ เช่น

            - ให้เป็นเงินสดกับพนักงานผู้ให้บริการโดยตรง

            - ใส่กล่องที่จัดเตรียมไว้ให้ลูกค้าใส่ ที่มักเขียนให้ลูกค้าเห็นว่า Tips Box

            - เขียนในใบเรียกเก็บเงิน (Check หรือ Bill) ที่พนักงานนำมายื่นให้ เช่น ถ้าราคาอาหาร 500 บาท ลูกค้าอาจเขียนว่า Tips 20% หรือเขียนเป็นจำนวนเงินสด 100 บาท ถ้าในประเทศอเมริกาก็จะมีช่องให้ลูกค้าเขียนโดยเฉพาะว่าทิปเท่าไร

            - ถ้าเป็นเครื่องเสียบบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ก็จะมีปุ่มให้เลือกกดว่ากี่ % หรือกี่เหรียญ

แต่ละประเทศจะมีธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินทิปที่ไม่เหมือนกัน (ขออนุญาตกล่าวถึงประเทศที่มีประสบการณ์ได้สัมผัสโดยตรง) เช่น

            - ประเทศในยุโรป อเมริก และแคนาดา จะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่รู้กันว่าต้องให้ทิปหลังจากทานอาหารในร้านอาหาร โดยทั่วไปก็ประมาณ 15 – 20% เช่นถ้าทานอาหาร 1,000 บาท (หลังจากรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) ต้องให้ทิปอีกประมาณ 150 – 200 บาท มากกว่า 20% แต่ถ้าน้อยกว่า 15% พนักงานก็จะรู้สึกว่าเขาทำงานบริการไม่ดี (จริงๆ ก็คือหวังทิปนั่นแหละ) และถ้าลูกค้าไม่ให้ทิป พนักงานก็อาจมีการทวงทั้งแบบตรงๆ หรืออ้อมๆ โรงแรมบางแห่งขนาดมีอาหารเช้ารวมกับค่าห้องแล้ว หลังจากทานอาหารเช้าแล้วไม่ต้องกังวลเรื่องจ่ายเงินหรือเซ็นบิล พวกยังมีแผ่นกระดาษยื่นให้อีกว่าหากพอใจในการบริการสามารถระบุจำนวนทิปเพื่อชาร์จเข้าห้องพักโดยตรง 5555

            - ประเทศญี่ปุ่นเดิมไม่มีธรรมเนียมเรื่องการให้ทิป บางครั้งลูกค้าวางทิปไว้ให้พนักงานถึงกลับวิ่งนำไปคืนแจ้งกับลูกค้าว่าลืมเงินทอนด้วยซ้ำ แต่ในปัจจุบันเมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างชาติไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นมากขึ้นและก็มักจะให้ทิป จึงกลายเป็นว่าขณะนี้ก็เริ่มมีการให้ทิปกันบ้างแล้ว

            - สำหรับประเทศไทย มักจะเป็นสถานที่บริการที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีเรื่องของทิป และคนไทยที่เคยใช้ชีวิตในต่างประเทศมาก็มักจะให้ทิป สำหรับธุรกิจสนามกอล์ฟก็เป็นธรรมเนียมที่รู้กันคือต้องให้ทิปกับแค็ดดี้ของแต่ละคนโดยทั่วไปก็เท่ากับค่าธรรมเนียมแค็ดดี้ (Caddie Fee) เช่นค่าธรรมเนียมแค็ดดี้ 400 บาท ก็จะให้ทิปอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 400 บาทเป็นต้น ถ้าแค็ดดี้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกใจมากก็ให้มากขึ้นอีก (แต่ไม่ถูกใจคุณแม่บ้านที่บ้าน)

            - บางแห่งก็จะรวมทิปไว้ในการสรุปยอดเงินรวมแล้ว ซึ่งจะระบุในด้านล่างของเมนูให้เห็น

สิ่งที่ต้องการระบุในเรื่องนี้คือ ธรรมเนียมการให้ทิปมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งในความหมายจริงๆ แล้วคือการให้เพื่อขอบคุณที่ทำงานต่างๆ แทนให้ลูกค้า โดยลูกค้าไม่ต้องทำเอง เช่น ถ้าลูกค้าไปทานอาหาร มีพนักงานเตรียมโต๊ะอาหารให้ ทำอาหารให้ นำมาเสิร์ฟให้ เก็บงานให้ ล้างจานให้ นี่คือความหมายที่แท้จริง ซึ่งถ้าลูกค้าไม่ให้ก็ไม่สามารถฟ้องร้องได้เพราะไม่ใช่กฎหมาย ดังนั้นพนักงานพึงระลึกไว้เสมอว่าไม่ว่าจะได้ทิปหรือไม่ก็ตาม ต้องทำหน้าที่บริการให้ดีทุกขณะ ถ้าได้ก็ดี ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยยังมีลูกค้ามาใช้บริการให้ได้มีงานทำ ถ้าคิดเช่นนี้เราจะไม่ตั้งคาดหวังว่าต้องได้

ถ้าเราตั้งความหวังไว้แล้วถ้าไม่ได้หรือได้น้อยก็จะทำให้การบริการจบลงอย่างไม่สง่างาม

นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีข้อปฏิบัติไม่ให้พนักงานบริการที่ให้บริการลูกค้า เช่น ในโรงแรม ภัตตาคาร ใส่เครื่องประดับหรือใช้สิ่งของประจำตัวที่หรูหราแพงเกินความจำเป็น เช่น แขกถามว่า ตอนนี้กี่โมง ปรากฎว่าพนักงานดึงแขนเสื้อขึ้นหน่อยแล้วยื่นนาฬิกาข้อมือให้แขกดูเวลา แทนที่จะดูที่เวลาแต่กลับเป็นการโชว์ Patek Philippe แล้วอย่างนี้แขกคนไหนอยากจะให้ทิปละครับ

แขก : "หนูชื่อะไรครับ"

พนักงาน : "อ๋อ หนูชื่อทิปค่ะ อย่าลืมทิปทุกครั้งที่ใช้บริการนะคะ"

ติดต่อเรา

นัฐพล กลั่นวารี
Nattapol Klanwari

  • Tel (Thailand) 66-081 890 4988
  • Line ID : 081 890 4988
  • Tel (Canada) 1 - 437 775 2478
  • Email : klanwari@gmail.com

 

สุนันทา

  • Tel : 090 917 9523

ติดตามเรา

การอบรมพร้อมกับการสนับสนุน

การอบรมเป็นวิธีการหนึ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง ความรู้ ทักษะและทัศนคติ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะได้ผลมากยิ่งขึ้น ถ้าปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อหนุนด้วย ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือผู้บริหารหรือผู้นำที่จะก่อให้เกิดปัจจัยเกื้อหนุนเหล่านั้น


คลิ๊กเพื่อดูหลักสูตรทั้งหมดพร้อมรายละเอียด

สถิติการเข้าชม (Since June 20, 2019)

1142789
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1325
1282
8828
1125224
32307
43068
1142789

Your IP: 34.238.189.240
2023-03-26 18:59
© 2017 Sj TheCool - Joomla Responsive Template. All Rights Reserved. Designed By SmartAddons">SmartAddons.com

Search