Photo by Markus Winkler on Unsplash
Written by: Nattapol Klanwari
จากสถานการณ์การระบาดบาดของเชื้อไวรัส Covid - 19 ที่สร้างผลกระทบกับทุกคน ทุกชาติ ไม่มีที่ยกเว้น โดยเฉพาะเรื่องการทำมาค้าขายและการเดินทาง เกิดมาตรการต่างๆ ขึ้นมากมาย และที่สำคัญที่สุดคือการมองต่อไปในอนาคตว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นหรือต้องทำอย่างไรต่อไป จนเกิดคำว่า "New Normal"
ขณะนี้มีคำยอดฮิต "New Nomal" หรือที่แปลว่า "ความปกติใหม่" ที่ใช้พูดถึงกันบ่อยมากจนบางคนนำมาใช้การกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อความทันสมัยและทันต่อเหตูการณ์ ผมก็รู้สึกสะกิดในใจว่าตกลงมันจะเป็นยังไงต่อไป สังคมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรกันอย่างโกลาหลเช่นนั้นเชียวหรือ ก็แต่เก็บไว้ในใจ จนกระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้เห็นการพูดของ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ทางช่องยูทูป THE STANDARD ECONOMIC FORUM จึงตัดสินใจเขียนบทความนี้ขึ้นมา ผมเน้นเขียนไว้เป็นหลักฐานเพื่อการเทียบเคียงต่อไปอนาคตว่าจะจริงหรือไม่ ใช่หรือไม่
การแพร่ระบาดของโรคติดต่อมิใช่เพิ่งมาเกิด Covid - 19 นี้แต่อย่างใด ในอดีตมีการแพร่ระบาดของโรคระบาดต่างๆ ทำให้มีผู้คนล้มตายมาแล้วเป็นจำนวนมากมาแล้วหลายครั้ง เราลองมาไล่เรียงดูกันว่าในโลกนี้เคยเกิดโรคระบาดที่รุนแรง ผู้คนล้มตายกัน มีโรคอะไรบ้าง (เน้นเฉพาะที่สำคัญๆ ระดับโลก)
กาฬโรค (Plague) เกิดจากเชื้อแบคมีเรีย จากสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นพาหะนำโรค รวมถึงการแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสได้โดยตรง โดยอาหารหรือวัสดุปนเปื้อน มีผลทำให้โลหิต น้ำเหลืองเป็นพิษ ปอดบวม
- ช่วงที่ 1 พ.ศ. 1084 - 1085 (541 - 542) สมัยจักวรรดิโรมันตะวันออก มีคนเสียชีวิต 100 ล้านคน
- ช่วงที่ 2 พ.ศ. 1881 - 1894 (1338 - 1351) เริ่มจากตอนใต้ของอินเดียและจีน ระบาดเข้าไปในลอนดอนตามเส้นทางสายไหม และทั่วไปในยุโรป มีคนตายถึง 25 ล้านคน
- ช่วงที่ 3 พ.ศ.2428 (1885) เริ่มจากยูนานประเทศจีนและแพร่ระบาดไปทั่วทุกทวีป มีคนตายมากกว่า 12 ล้านคน
ปี พ.ศ.2456 ในประเทศไทยมีคนตายถึง 300 คน
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/กาฬโรค
https://www.hfocus.org/content/2014/08/7906
อหิวาตกโรค (Cholera) ในปี พ.ศ. 2553 มีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 3 - 5 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 100,000 - 130,000 คน ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วง มีภาวะขาดน้ำอย่างเฉียบพลัน
ในประเทศไทยมีการระบาดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมารุนแรงในสมัยรัชกาลที่ 2 มีคนตายถึง 30,000 คนภายใน 15 วัน เนื่องจากมีการใช้น้ำในแม่น้ำลำคลองเป็นหลัก มีการถ่ายและชำระล้างในแม่น้ำลำคลองด้วย
สมัยรัชกาลที่ 3 เกิดขึ้นอีกครั้งมีคนตายถึง 1,500 - 20,000 คนภายในเดือนเดียว จนเกิดคำที่เรียกว่า "ห่าลง", "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์", "ประตูผี" เนื่องจากมีคนตายมากจนเผากันไม่ทันต้องหามศพหรือผีจากพระนครชั้นในไปโยนให้แร้งจิกกินกันที่วัดสระเกศ
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/อหิวาตกโรค
https://www.hfocus.org/content/2013/09/4628
ภาพจาก https://www.hfocus.org/content/2013/09/4628
ไข้หวัดนก (Bird Flu)
- เริ่มระบาดครั้งแรก ปี พ.ศ. 2460-2461 (1918-1920) เรียกว่า ไข้หวัดสเปน (Spanish Flu) มีผู้เสียชีวิต 50 - 100 ล้านคนหรือเท่ากับคนจำนวน 1 ใน 3 ของประชากรของทวีปยุโรป
-
ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2500-2501 (ค.ศ.1957-1958) เรียกว่า ไข้หวัดใหญ่เอเซีย (Asian Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1- 4 ล้านคน
-
ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ.1968) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง" (Hong Kong Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1 - 4 ล้านคน
ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ไข้หวัดนก
โรคซาร์ส (SARS - Severe Acute Respiratory Syndrome) กลุ่มอาการโรคระบบหายใจเฉียบพลันอย่างรุนแรง ปี 2545 - 2546 (2002 - 2003) มีผู้ป่วย 8,098 และเสียชีวิต 774 คน ใน 17 ประเทศ
ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
จะเห็นได้ว่าเราผ่านเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อมามากหมายหลายครั้ง ทั้งนี้ยังไม่รวมการเกิดโรคในประเทศหรือสังคมแคบๆ อีกนับไม่ถ้วน ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตและการทำมาหากิน
https://www.youtube.com/watch?v=1iOtGQ4Qdcg
คลิ๊กเพื่อรับฟังรับชมการพูดถึง New Normal ของ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์
ถึงแม้ว่าจะเกิดโรคระบาด ในแต่ละครั้ง ณ ขณะนั้นก็จะมีการกำหนดมาตรการต่างๆ ขึ้นมามากมาย พูดถึงการป้องกัน การใช้ชีวิตแบบไหม่ (เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่า New Normal เท่านั้นเอง) และแล้วคนเราก็ใช้ชีวิตตามปกติกันกัน (อาจจะด้วมีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันแล้วก็ได้)
Photo by Anastasia Vityukova on Unsplash
เพราะอะไรหรือครับ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่ใช่สัตว์ที่อยู่อาศัยแบบเดี่ยว มีการเข้าสังคม การทานอาหารร่วมกัน การสัมผัส การกอด โดยเฉพาะกันทักทายของชาวตะวันตกที่จับมือ กอดกัน หอมแก้วกัน ใช้จมูกสัมผัสกัน ฯลฯ เป็นวัฒนธรรมและเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต จะเห็นได้ว่าเกิดโรคระบาดมาตั้งหลายครั้งแต่วัฒนธรรมดังกล่าวก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หายไป อาจจะมีการหยุดชะงักไปชั่วขณะหนึ่งระหว่างการระบาดของโรคดังกล่าว
มาถึงเรื่องการปฏิบัติและรับมือในอนาคตต่อ Covid - 19 คงหนีไม่พ้นเรื่องสาธารณสุขหรือความสะอาดพื้นฐาน คือ
- การล้างมือบ่อยๆ
- การรักษาความสะอาดของสิ่งของต่างๆ
- ทานร้อนช้อนกลาง
- ของร้อนทานตอนที่ยังร้อน ของเย็นทานตอนที่ยังเย็น
- ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
- ไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคอะไรต้องป้องกันไม่ให้แพร่ถึงผู้อื่น แม้แต่คนในครอบครัว เช่น การใช้หน้ากากอนามัย
- พัฒนา รักษาพนักงานให้มีมาตรฐานทีดีต่อไป เพราะอย่างไร ลูกค้าก็ยังต้องการการบริการ และการบริการต้องใช้คนแน่ๆ การบริการแบบไม่ใช้คนหรือพนักงานอาจใช้ได้กับการบริการบางประเภทเท่านั้น ไม่ใช่ทุกประเภท อย่าเหมารวมกันทั้งหมด (เก้าอี้นวดดไฟฟ้ายังมีจำนวนน้อยกว่าพนักงานนวด)
- ปฏิบัติตามมาตรฐานของสุขอนามัยอาหารและเครื่องดื่ม (สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://trainingreform.com/index.php/training-blog/166-training-blog-72)
- เตรียมแผนรองรับหากเกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดฝัน คือ ไม่ประมาท มีแผนสำรอง (Plan B), แผนรองรับความเสี่ยง (Risk Management), เก็บเงินทุนสำรองหากเกิดเหตูฉุกเฉินทั้งการทำงานและการดำเนินชีวิต ปัจจุบันอย่าว่าแต่มี 100 ใช้ 100 แล้วจะแย่เลย แค่มี 100 ใช้ 70 ก็แย่แล้ว ยิ่งถ้ามี 100 ใช้ 110 ด้วย ไม่ต้องกังวลกับโรคระบาดเลยครับ ไม่ทันได้ตายด้วยโรคแน่ๆ
สิ่งเหล่านี้ ถึงไม่เกิดโรคระบาดก็ต้องปฏิบัติกันอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน นี่ยังไม่รวมถึงทั้งวงจรของห่วงโซ่อาหาร (Food Supply Chain) ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ (การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์) โรงฆ่าสัตว์ การขนส่ง การเก็บรักษา ไม่จำหน่ายหรือกินสัตว์แปลกๆ ฯลฯ
ยังไงซะ คนเราก็ต้อง เข้าสังคม เดินทาง ท่องเที่ยว ทานอาหารนอกบ้าน มาเตรียมพร้อมในการสร้างคุณภาพและมาตรฐานในการบริการให้พร้อม จนสร้างความน่าเชื่อถือ (Trust) ให้กับลูกค้าต่อไปในอนาคตดีกว่า
เมื่อสองวันก่อนเห็นภาพข่าวหนึ่ง (ขออภัยจำแหล่งข่าวไม่ได้) ระบุว่าทันที่ที่มีการผ่อนปรนการปฏิบัติเกี่ยวกับ Covid -19 หมอนวดเกลี้ยงตู้เลย ผมไม่แน่ใจว่าเขาปฏิบัติเกี่ยวกับ ระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ที่ต้องอยู่ห่างกันอย่างน้อย 6 ฟุต หรือ 2 เมตร กันอย่างไร หากท่านผู้อ่านท่านใดทราบคำตอบกรุณาแนะนำให้ผมทราบด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง