Written by: Nattapol Klanwari
ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Knowledge) ที่ขายให้กับลูกค้ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ขายต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณสมบัติและรายละเอียดต่างๆ เพื่อการอธิบายให้กับลูกค้าได้เชื่อมั่นกับการจ่ายเงินในการซื้อหรือใช้บริการ
หลังจากที่ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับเบียร์ผ่านไปแล้ว 2 บทความ คือ
Beer แบบต่างๆ เลือกดื่มและเลือกขายทำเงิน 1/2 > https://trainingreform.com/index.php/training-blog/230-draft-beer-draught-beer-craft-beer-bottle-beer
Beer แบบต่างๆ เลือกดื่มและเลือกขายทำเงิน 2/2 > https://trainingreform.com/index.php/training-blog/231-draft-beer-draught-beer-craft-beer-bottle-beer-2
ผมได้ควานหาแหล่งที่ผลิตเบียร์ที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าไปเยี่ยมชมได้ และก็โชคดีพบว่ามีโรงผลิตเบียร์ Steam Whistle ตั้งอยู่ในโตรอนโต้ ผมก็ไม่รอช้าเข้าเว็บจองวันเวลาที่จะขอเข้าชม โดยมีแพ็คเกจในการเข้าชม ผมเลือกแพ็คเกจที่จ่าย CD$ 20.95 รวมภาษีแล้วก็ประมาณ 22 และจะได้รับเบียร์ 6 กระป๋อง เมื่อทำการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตเรียยร้อยแล้วก็จะมีการแจ้งยืนยันกลับมาทางอีเมล์ที่เรากรอกไป เป็นอันไปเข้าชมได้แน่นอน
ท่านที่สนใจสามารถเข้วชมเว้บไซต์ได้ที่ https://steamwhistle.ca
ระหว่างทางเดินไปโรงผลิต วิวทิวทัศน์ก็เป็นอย่างที่เห็น ลุยหิมะไปยังโรงผลิต
เมื่อเดินทางไปถึงบริเวณที่ต้อนรับ ก็แจ้งลงทะเบียน จุดใกล้ๆ ที่ลงทะเบียนก็มีมุมสำหรับขายของที่ระลึกต่างๆ ที่มีโลโก้ของ Steam Whistle ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยึด เสื้อกั๊ก แก้วเบียร์ ที่เปิดขวด สบู่ที่ทำมาจากเบียร์ ฯลฯ เรียกว่ามีเรื่องให้เสียเงินกันก่อนเลยทีเดียว
ลงทะเบียนเสร็จก็สามารถเริ่มดื่มกันได้เลย ประเดิมด้วย Beer > Lager > Pilsner > Steam Whistle ที่รินจากหัวจ่ายที่เคาน์เตอร์ ใส่แก้ว Pilsner โดยเฉพาะ (Pilsner Beer Glass)
บริเวณที่นั่งรอเวลาการพาเดินเยี่ยมชม เมื่อถึงเวลาที่นัดหมาย เจ้าหน้าที่ก็จะเคาะระฆังเรียกให้ผู้ที่จองเวลานั้นๆ มารวมตัวกันแล้วก็กล่าวต้อนรับ อันดับแรกก็จะพาไปห้องฉายวิดีทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมาของเบียร์ Steam Whistle ซึ่งมีบาร์อยู่ข้างๆ ดูไป ฟังไป ดื่มเบียร์ไปด้วย เมื่อวิดีทัศน์จบลงก็เสิร์ฟเบียร์อีกขวดให้ผู้เยี่ยมชมถือไปด้วย ชมสถานที่ ฟังการบรรยาย ดื่มไปด้วยขณะเดิน
การผลิตเบียร์ของ Steam Whistle ก็เป็นไปตามหลักการผลิตเบียร์ทั่วไป ผมขอนุญาตไม่กล่าวอีกครั้งโดยขอให้ท่านผู้อ่านกรุณาดูและอ่านได้ที่ลิ๊งค์ที่ผมปะไว้ด้านบนของบทความนี้ ผมจะกล่าวเฉพาะจุดที่เด่นๆ ก็แล้วกัน
Steam Whistle ก็เป็น Lager ประเภท Pilsner คือใช้การหมักที่ก้นถังแบบอุณภูมิต่ำหรือเย็น ซึ่งแน่นอนว่าการหมักแบบเย็นก็จะต้องใช้เวลานานกว่าการหมักแบบอุณภูมิสูงหรือแบบอุ่น Pilsner นี้จะใช้เวลาในกระบวนการหมักบ่มประมาณ 28 วัน หรือประมาณ 4 สัปดาห์ เมื่อได้ที่แล้วจะทำการบรรจุในรูปแบบของถังเบียร์ (Keg) ขวด (Bottle) และกระป๋อง (Can) ส่งออกขายเลยโดยไม่มีกระบวนการพาสเจอร์ไรเซชั่น (Pasteurization) โดยพยายามให้มีขายอยู่ในตลาดหรือร้านอาหารหรือบาร์ที่ภายใน 90 วันหรือ 3 เดือน นั่นคือระยะที่เบียร์จะมีความสดใหม่อยู่ น่าดื่มที่สุด
เมื่อหมดรอบการพาเดินชมก็จะมาถึงสถานที่ท้ายสุดคือ Steam Whistle Beer Garden พร้อมมีร้านขายของที่ระลึกอยู่ข้างๆ ให้เสียเงินอีก
การเข้าเยี่ยมชมแหล่งที่ผลิตสินค้าที่เราจะนำมาค้าขายถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เรารู้และเข้าใจในลักษณะ มาตรฐานและคุณภาพของสินค้า เพื่อการสื่อสารให้กับลูกค้าที่ซื้อจากเราไปอีกต่อหนึ่ง ไมจำเป็นต้องเป็นเรื่องเหล้าเบียร์เพียงอย่างเดียว สินค้าอย่างอีกเยอะแยะมากมาย ยิ่งถ้าโรงแรม ร้านอาหารใด ที่ใช้ HACCP (Hazard Analysis and Critcal Control Points) ก็จะเป็นภาคกึ่งบังคับให้ต้องไปตรวจเยียมแหล่งที่มาของอาหารที่นำเข้ามาขายหรือใช้ปรุง
สำหรับการเข้าเยี่ยมชมโรงผลิต Steam Whistle ของผมในครั้งนี้หรือครั้งอื่นๆ ก็ตามผมมิได้มองเพียงแค่ตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวว่าผลิตอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร แต่ผมจะพุ่งเป้ามองไปที่ระบบการบริหารจัดการด้วย เพราะนั่นคือหัวใจของทั้งหมด สิ่งที่ปรากฎออกมาให้เห็นก็เป็นผลจากการบริหารจัดการนั่นเอง โดยในครั้งนี้ผมได้เห็นสิ่งที่เพิ่มเติมนอกจากตัวเบียร์คือ
1. การเปิดโรงงานหรือบ้านให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมชม โดยผู้เข้าเยี่ยมชมเหมือนเข้ามาซื้อเบียร์เป็นข้อแลกเปลี่ยน ได้รายได้เข้าบริษัทบางส่วนด้วย แต่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่รู้สึกว่าเป็นการเก็บค่าธรรมเนียม
2. ระบบการจอง จ่ายเงินออนไลน์ ส่งผลถึงการแจ้งลงทะเบียนที่ผู้เยื่ยมชมเดินทางไปถึง ที่เชื่อมโยงกันทั้งหมด
3. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะอาดของสถานที่ แม้แต่ในโรงผลิตที่สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้เข้าเยี่ยมชม แม้กระทั่งความสะอาดของห้องน้ำ
4. การใช้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ (จำนวนพนักงานที่คอยสังเกตจากการเดินชมสถานที่ ซึ่งวันนั้นยังอยู่ระหว่างหมักบ่ม ไม่มีกิจกรรมการเดินสายพาน การเริ่มผลิต หรือการบรรจุ)
- เคาน์เตอร์ต้อนรับมี 2 คน สลับกันเป็นไกด์ 1 คน และ ประจำเคาน์เตอร์ 1 คน แต่ละคนทำเองได้ทุกอย่าง เช็คบุ๊คกิ้ง รับลงทะเบียน เก็บเงินการซื้อของที่ระลึก รินเบียร์ เสิร์ฟเบียร์ ล้างแก้ว ควบคุมแสง เสียงเพลง พาชม อธิบาย เปิด-ปิดวิดีโอ ฯลฯ
- เห็นพนักงานในโรงงาน 1 คน เป็นคนคอยดูและตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบ
- Beer Garden มีพนักงานเสิร์ฟ 2 คน และต้องรับผิดชอบการขายของที่ระลึกด้วย
เท่าที่ผมเห็นคือมีพนักงานในวันนั้นที่ On Duty 5 คน (ในครัวไม่ทราบว่ามีกี่คน ผมคิดว่าน่าจะเพียง 1 คน)
จากที่เราทราบดีแล้วว่าตัวชูจุดเด่นของกลิ่นของเบียร์ก็คือ Hops การดื่มก็เหมือนการทานอาหาร ต้องได้กลิ่นของเครื่องดื่มประกอบกับการดื่มด้วย จะทำให้เราได้สัมผัสที่ครบถ้วน โดยสังเกตง่ายๆ ได้ว่าขณะที่เราเป็นหวัดคัดจมูกหายใจไม่ค่อยคล่อง จมูกไม่ค่อยได้กลิ่นอะไรเราจะทานอะไรไม่ค่อยอร่อยหรือไม่ได้รสชาติ ดังนั้นการดื่มเบียร์ควรใส่แก้วเหมือนกับการดื่มไวน์ เพื่อให้ได้กลิ่นไปพร้อมกับการดื่ม
ภาระของผมต่อไปคือ จะทำอย่างไรกับเจ้า 6 กระป๋องที่ต้องหิ้วกลับมาบ้าน