Photo by Ashwini Chaudhary on Unsplash
Written by Nattapol Klanwari
การทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านการฝึกอบรมหรือจัดการเรียนการสอน มักจะมีคำว่า "ทัศนคติ" (Attitude) เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ โดยเฉพาะการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการทำงานและพฤติกรรมของพนักงาน นอกเหนือจากด้านความมรู้ (Knowledge) และทักษะความชำนาญ (Skill) แต่ข้อสำคัญทัศนคตินั้นต้องสามารถวัดหรือประเมินเป็นรูปธรรมได้
การฝึกอบรมหรือพัฒนาบุคลากรมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทั้งด้าน ความรู้ (Knowledge) ทักษะความชำนาญ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) ซึ่งทัศนคตินี่แหละที่สร้างกันยากที่สุด โดยทั่วไปมักจะแปลความหมายของคำว่าทัศนคติ เป็นด้านการรักงาน แต่ในเนื้อแท้ของทัศนคติยังแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ย่อยออกไปอีกแล้วแต่ว่า งานที่ต้องฝึกหรือเรียนรู้นั้นเกี่ยวของกับเรื่องใด
โดยทั่วไปเรามักจะเห็นการระบุวัตถุประสงค์ในการจัดการฝึกอบรม หรือการเรียนการสอน "เพื่อให้มีทัศนคติที่ดี" ซึ่งเป็นการระบุที่คลุมเครือมาก ไม่รู้ว่าทัศนคติด้านใด ดีอย่างไร เฉกเช่นการระบุว่า "เป็นคนดี" ดีอย่างไร อย่างไหนที่เรียกว่าดี ดีของใคร อะไรที่ว่าไม่ดี เถียงกันตายเลย
บทความนี้จะเป็นการระบุควาชัดเจนของ ทัศนคติ (Attitude) ว่ามีด้านใดบ้าง โดยจะอ้างอิงจากภาษาอังกฤษเป็นหลักเพื่อการจัดกลุ่มได้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
Accuracy
- ความถูกต้องแม่นยำ
Adaptability
- ความสามารถในการปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ
Alertness
- ความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ
Artistic flair
- ความเข้าใจและซาบซึ้งกับความเป็นศิลปะ
Attention
- ความใส่ใจต่อผู้คน เรื่องราวและสถานการณ์ต่างๆ
Calmness
- ความสงบ ใจเย็น ความสามารถในการควบคุมและระงับอารมณ์
Care
- ความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความเสียหายหรือความเสี่ยงที่ไม่ควรต้องเสี่ยง
Cleanliness
- ความใส่ใจระวังรักษาความสะอาด
Control
- ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์
Co-operation
- ความร่วมมือจนกระทั่งสิ้นสุดกิจกรรมนั้นๆ
Courage
- ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว กล้าเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ
Courtesy
- ความมีมารยาท อัธยาศัยที่ดี
Dexterity
- ความชำนาญในการทำงานนั้นๆ โดยเฉพาะด้านงานที่ต้องใช้มือทำ เช่นงานศิลปะ หัตกรรม
Dignity
- ความตระหนักระวังในการรักษาศักดิ์ศรี ให้เป็นที่ยอมรับนับถือ
Discretion
- ความมีดุลพินิจ โดยเฉพาะกับการต้องตัดสินใจ
Economy
- ความสามารถในการจัดการ ใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า เหมาะสม
Efficiency
- ความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
Empathy
- ความเอาใจใส่ในความรู้สึกของผู้อื่น
Fairness
- การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเท่าเทียม ยุติธรรม ไม่ลำเอียง
Firmness
- ความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นตัวของตัวเองอย่างมีเหตุผล
Friendliness
- การเป็นมิตร มีไมตรีต่อผู้อื่น
Good memory
- มีความจำที่ดี
Helpfulness
- การมีความเอื้อเฟี้อเผื่อแผ่
Humanity
- ความมีมนุษยธรรม มีความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์
Imagination
- การมีจินตนาการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
Improvisation
- สามารถพัฒนาการในขั้นที่สูงขึ้นได้
Initiative
- ความคิดริเริ่ม มองการณ์ไปถึงสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป
Integrity
- ความซื่อสัตย์ ไว้วางใจได้
Justice
- ความยุติธรรม มีเหตุผล
Kindness
- ความมีน้ำใจ มีเมตตากรุณา
Leadership
- ความเป็นผู้นำ
Observation
- ความเป็นนักสังเกตุ
Orderliness
- ความมีระเบียบวินัย
Pleasantness
- การมีความรื่นรมย์กับเหตุการณ์ต่าง ได้
Politeness
- ความสุภาพอ่อนโยน ให้เกียรติผู้อื่น
Presence of mind
- การมีใจจดจ่อในการปฏิบัติงานอย่างตั้งใจ มีสติ
Pride in personal appearance
- ความภาคภูมิใจ พอใจกับรูปลักณ์ของตนเอง
Reliability
- ความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
Responsibility
- ความรับผิดชอบ (ไม่ทำทิ้งๆ ขว้างๆ)
Salesmanship
- ความเป็นนักการขาย มีศิลปะในการเสนอขาย
Security
- ความระมัดระวังในการรักษาความปลอดภัย
Self - motivation
- ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง
Sense of responsibility
- ความรับผิดชอบต่อตนเอง
Showmanship
- ความสามารถในการแสดงออกต่อหน้าผู้อื่น
Sympathy
- ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
Tact
- การมีปฏิภาณไหวพริบ
Tidiness
- ความประณีต ละเอียด รอบคอบ
Understanding
- ความสามารถในการทำความเข้าใจเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ได้ดี
Willingness
- ความตั้งใจ เต็มใจ มุ่งมั่น
เชื่อว่าตามหัวข้อที่ระบุมาทั้งหมดน่าจะครอบคลุมเกี่ยวกับ ทัศนคติได้เกือบหมด ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นงานด้านการบริการ งานด้านอื่นๆ เช่น การพยาบาล ช่าง การคำนวณ การผลิต การขนส่ง การค้าขาย ฯลฯ
สำหรับบทความต่อไปผมจะเขียนเกี่ยวกับการแยกหัวข้อย่อยในการจัดการฝึกอบรม (Training-Task Breakdown) และจะยกตัวอย่างการระบุวัตถุประสงค์ทั้งด้าน Knowledge, Skill และ Attitude ให้เห็นชัดเจนว่าต้องประกอบด้วยด้านใด อะไรบ้าง รวมถึงการจะสร้างให้เกิดทัศนคตินั้นอย่างไร รอติดตามครับ
To be continued !!!!