เมื่อกล่าวถึงพนักงานก็ต้องเกี่ยวข้องกับค่าจ้างแรงงานเป็นธรรมดา เพราะเป็นส่วนที่มีผลต่อกันและกัน โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นต่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Cost) พูดง่ายๆ ว่ามีรายได้หรือไม่ รายได้น้อยหรือมากก็ต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานที่จ้างเขามาแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจคือ พนักงานก็อยากได้ค่าจ้างสูงแต่นายจ้างก็อยากให้ต่ำๆ หรือพนักงานพูดว่าจ้ายแพงๆ ซิ จะทำให้มากกว่านี้ ขณะเดียวกันนายจ้่างก็จะพูดว่าทำมาเยอะๆ ก่อนซิ แล้วจะพิจารณาให้ตามที่ทำ ตกลงเลยไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ตรงไหนก่อนที่ลูกจ้างหรือที่นายจ้าง เหมือนไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน
โดยทั่วไปแล้วค่าจ้างแรงงาน (Payroll) จะเป็นการกำหนดเป็นอัตราส่วนของรายได้ที่ธุรกิจได้รับ เช่น งบประมาณค่าจ้างแรงงาน 25% หมายถึงว่าจากรายได้ของธุรกิจ 100 บาท จะเป็นค่าจ้างพนักงาน 25 บาท หรือคิดเป็น 1/4 ซึ่ง ระดับ 25% จะเป็นค่าใช้จ่ายแรงงานของโรงแรมที่เน้นการบริการที่ดีมากๆ เพราะมีกำไรขั้นต้นจากการขาย (Margin) ที่สูง
ยกตัวอย่างเช่นห้องอาหารโรงแรม 5 ดาวขายอาหารจานละ 100 บาท มีต้นทุนอาหารประมาณ 33% หรือ 1 ใน 3 คือจะไมีกำไรขั้นต้นถึงประมาณ 67 บาทหรือ 67% ของราคาขาย แต่ร้านอาหารตามสั่ง ข้าวผัดจานละ 40 บาท ต้นทุนอาหารประมาณ 23 บาทคือ 57.5% กำไรขั้นต้น 17 บาท หรือประมาณ 42.5% (ขอให้ดูที่ตัวเลขร้อยละหรือ % เป็นหลักเพือการเปรียบเที่ยบ)
ดูเหมือนว่าห้องอาหารในโรงแรม 5 ดาวจะมีกำไรขั้นต้นมาก แต่กำไรขั้นต้นของโรแรม 5 ดาวต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานที่สูง มีสวัสดิการดีๆ พูดภาษาอังกฤษได้ ถึงต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานถึงประมาณ 25% แต่สำหรับร้านอาหารตามสั่งเจ้าของอาจทำเอง จ้างลูกจ้างคนเดียวและจ้างก็ไม่แพง อาจคิดเป้น 10 หรือ 15% ของรายได้ หรือวันละ 300 บาท
ทีนี้มาดูตัวอย่างจริงที่มีผู้ที่ทำมาแล้ว มีสำนักงานแห่งหนึ่ง
ครั้งแรก จ้างพนักงานแม่บ้านทำความสะอาดสำนักงานจำนวน 2 คน จ่ายค่าจ้างคนละ 9,000 บาท ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง (พัก 1 รวมเป็น 9 ชั่วโมง รวมสองคนเดือนละ 18,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าหาคนไทยทำงานนี้ค่อนข้างยากจึงได้พนักงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ผลที่ได้รับคือ
1. มาเข้างานพอดีเวลา
2. พักทานข้าวเต็ม 1 ชั่วโมง
3. ไปทานข้าวพร้อมกัน
4. เผลอเป็นเล่นโทรศัพท์ หรือไม่ก็คุยกัน
5. ทำอะไรมักจะต้องทำด้วยกัน ไมค่อยยอมแยกกัน
6. ขอความเห็นใจหยุดงานตามเทศกาลเพื่อกลับบ้าน
7. กลับบ้านแล้วต้องลาต่อเพราะคิดถึงบ้าน ถ้าไม่อนุญาตก็ยอมให้หักเงิน
8. แน่นอนว่าไม่ต้องพูดถึงคุณภาพของงาน
เมื่อสองคนนี้ลาออก ก็ขอให้พนักงานในสำนักงานช่วยหาพนักงานแม่บ้านที่พอรู้จักมาทำงาน ปรากฎว่ามีผู้หญิงอายุประมาณ 45 ปี วุฒิการศึกษา ม. 3 มาสมัครงาน โดยเป็นผู้ยื่นรายละเอียดดังนี้
1. เวลาทำงานเหมือนที่ปฏิบัติกันอยู่คือหยุดสัปดาห์ละ 1 วัน ทำงานวันละ 8 ชัวโมง (9 พัก 1) เธอแถมให้เป็น 9 ชั่วโมงการทำงานไม่รวมการพักทานข้าว
2. ขอมีผู้บังคับบัญชาที่ชัดเจนว่าเป็นใครในการประเมินผลงาน
3. ขอให้กำหนดรายละเอียดงานให้ชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน มาตรฐานที่ต้องการเป็นเช่นไร
4. อะไรที่จะให้ทำเป็นสัปดาห์ละครั้ง (Weekly Cleaning)
5. ขอเงินเดือน 15,000 บาท
เงื่อนไขเรื่องค่าจ้างเป้นสิ่งที่ผู้จัดการสำนักงานต้องคิดหนัก เพราะ วุฒิ ม.3 ขอรับเท่าปริญญาตรี และไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของ HR ว่าจบเท่านี้ต้องให้ค่าจ้างได้เท่านี้ ที่สำคัญคือพนักงานคนอื่นจะคิดเปรียบเทียบได้ และจะเกิดความลักลั่น ไม่ยุติธรรม แต่ทั้งนี้ผู้จัดการก็อยากจะทดลองถ้าไม่ได้ก็ให้ออกเท่านั้นเอง และมอบหมายให้ผู้จัดการ HR เป็นผู้บังคับบัญชาโตยตรง
พนักงานคนนี้เดินเช็คจุดต่างๆ ที่ต้องทำและความคาดหวังที่ต้องการร่วมกับผู้จัดการ HR และขอซื้ออุปกรณ์ไว้เฉพาะชั้น และชุดถุงซักไม้ม้อบแบบเหยียบปั่นแทนแบบใช้มือซักและบิดเอง
ผลที่ได้
1. งานเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตกลงกับผู้จัดการ HR
2. ไม่พบว่าเธอเล่นโทรศัพท์
3. เห็นเธอทำงานตลอดเวลา
4. เธอนำข้าวมาทาน ไม่ต้องเสียเวลาออกไปทานข้างนอก ใช้เวลาในการทานไม่เกิน 15 นาที
จากตัวอย่างนี้คงพอเห็นได้นะครับว่าบางครั้งเรามีอะไรทียังยึดติดอยู่หรือเปล่าที่ทำให้มีปัญหาระหว่างจำนวนคน งาน คุณภาพ และค่าจ้าง ถ่้าเธอทำให้งานไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ตกลงเธอก็หลุดจากการรับเงินที่่มาเช่นนี้ ก็ต้องพยายามรักษามาตรฐานการทำงานให้ได้ตามที่ตกลง ได้ประโยชน์ทั้งนายจ้างและพนักงาน
พนักงานได้มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ นายจ้างประหยัดไป 3,000 บาท แต่จ้างรายวันมาทดแทนวันที่เธอหยุด ทั้งหมดอยู่ที่จะบริหารจัดการอย่างไรล้วนๆ เลย
สนใจวิธีการประเมินงานและจัดทำหน้าที่ลักษณะงาน กรุณาคลิ๊ก การจัดทำกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ (Job Description)