อบรมภายในองค์กร VS อบรมภายนอก

Print

การจัดการอบรมต่างๆ ให้กับพนักงาน ไม่ว่าตำแหน่งใดก็แล้วแต่ ก็ต้องหวังผลที่ได้จากการอบรมครั้งนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอบรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับค่าใช้จ่าย ถึงแม้จะอบรมโดยพนักงานที่เป็นระดับหัวหน้าหรือรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์หรือแม้แต่มีผู้จัดการฝึกอบรมขององค์กรเองก็นับเป็นค่าใช้จ่ายเหมือนกัน แต่เรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นอันดับรองลงไปถ้าการอบรมนั้นก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

การอบรมภายใน (In-House Training) หมายถึงการจัดการอบรมเฉพาะขององค์กรใดองค์กรหนึ่งมีเฉพาะพนักงานขององค์กรที่จัดอบรมเท่านั้น ส่วนจะแยกแผนกหรือรวมแผนกก็ว่ากันไปตามหัวข้อและวัตถุประสงค์ อาจจัดภายในสถานประกอบการถ้ามีสถานที่เพียงพอ หรืออาจไปเช่าสถานที่จัดอบรมนอกสถานประกอบการก็ได้

การอบรมภายนอก (Public Training) ที่พูดกันสั้นๆ หมายถึงการส่งพนักงานไปเข้ารับการอบรมกับหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดให้กับผู้ที่จะเข้าร่วมรับการอบรมจากองค์กรต่างๆ สมัครเข้าร่วมรับการอบรมตามกำหนดการที่ผู้จัดจัดไว้มีทั้งที่เสียค่าเข้ารับการอบรม เช่น บริษัทจัดฝึกอบรมต่างๆ หรือหน่วยงานภาครัฐ หรืออาจไม่เก็บค่าเข้ารับการอบรมขอให้มีคนเข้าร่วมรับการอบรมก็ดีแล้ว

การอบรมทั้งภายในองค์กรและร่วมรับการอบรมภายนอกองค์กรมีข้อเด่นนต่างกัน ไม่สามารถพูดได้ว่าอบรมภายในหรือส่งไปรับการอบรมภายนอกองค์อันไหนจะดีหรือได้ผลกว่ากัน ซึ่งผู้บริหารโดยเฉพาะแผนกบุคคลจะต้องพิจารณาและจัดดำเนินการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

การอบรมภายในองค์กร (In-House-Training)
            จุดเด่น
                        - พนักงานผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และทักษะที่เหมือนๆ กันในครั้งเดียวกัน มาตรฐานเดียวกัน
                        - หากมีจุดที่เป็นปัญหาหรือข้อขัดแย้งสามารถหาข้อสรุปด้วยกันได้เลย
                        - สามารถจัดเวลาที่เหมาะสมกับหน้างานได้ ถ้างานยุ่งก็สามารถเลื่อนไปก่อนได้
                        - โดยทั่วไปใช้งบประมาณค่าใช้จ่าย (ต่อหัว) น้อยกว่าการการส่งไปรับการอบรมภายนอก
            จุดที่ควรต้องพิจารณา
                        - ต้องจัดสรรเวลาให้เหมาะสม ไม่ให้ต้องออกไปทำงานขณะรับการอบรม (พนักงานบางคนอ้างงานยุ่ง หรือทิ้งงานไม่หลุด)
                        - วิทยากรต้องควบคุมบรรยากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ให้พนักงานคล้อยตามการเปลี่ยนแปลงที่หวังผล


การอบรมภายนอกองค์กร (Public Training)
            จุดเด่น
                        - พนักงานที่ไปเข้ารับการอบรมภายนอกได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองกับผู้เข้ารับการอบรมจากองค์กรอื่น
                        - พนักงานได้มีโอกาสเปลี่ยนบรรยากาศออกจากสถานที่ทำงานบ้าง
            จุดที่ต้องพิจารณา
                        - ถ้าผู้เข้าร่วมรับการอบรมมาจากองค์กรที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับงานที่พนักงานของเราที่ไปเข้ารับการอบรมก็จะเกิดช่องว่างเหมือนไม่ได้อะไร
                        - เนื้อหาการอบรมจะดำเนินไปตามที่วางไว้ค่อนข้างแน่นอน จนบางครั้งอาจไม่ได้ตอบหรือแก้ปัญหาคาใจผู้เข้ารับการอบรมได้
                        - (พนักงานอาจทำความรู้จักกับผู้อื่น แล้วไปสมัครงานกับเขาเลย)

ทั้งนี้การอบรมภายในองค์กร หรือภายนอกองค์กรก็ต้องแล้วแต่วัตถุประสงค์ งาน และตำแหน่งด้วย เช่นผู้จัดการระดับสูงมีไม่กี่ท่าน งานเฉพาะ เช่น การจัดการภาษี เนื้อหาที่ต้องเน้นภาคความรู้เช่น การเงิน กฏหมายแรงงาน อย่างนี้ก็ควรไปเข้ารับการอบรมภายนอกองค์กร หากเป็นเรื่องที่ไม่ใช้ความรู้เฉพาะ เช่นการจัดการ การเป็นผู้นำ การสื่อสาร การบริการ ที่เน้นให้พนักงานทำเป็นแบบเดียวกันหรือแก้ปัญหาอะไรบางอย่างไปด้วยกันก็ควรจัดการอบรมภายในองค์กร

Trainingreform ได้จัดเตรียมหลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House Training) ไว้ให้บริการอบรมกับองค์กรท่าน (กรุณาคลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดของแต่ละหลักสูตรเพิ่มเติม)
 
      หัวใจของการบริการ (Principle of Hospitality)
      แค็ดดี้สนามกอล์ฟมืออาชีพ (Professional Golf Caddie)
      การบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service)
      การเพิ่มยอดการขายผ่านการรับคำสั่งอาหารและเครื่องดื่ม (FB Up-Selling Technique)
      มารยาทการรับประทานอาหารแบบสากล (Dining Etiquette)
      หลักการเป็นหัวหน้างาน (Principle of Supervisor)
      การสอนงาน (Train The Trainer)
      การสื่อสารเพื่อการจัดการการบริการ (Communication for Service Business)
      การวิเคราะห์อุปสรรรคและปัญหาในการให้บริการและการจัดการและการปรับปรุง (Problem Analysis and Improvement Procedure for Customer Service and Management) 
      การจัดทำกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ (Job Description)
      การจัดทำมาตรฐานการบริการและเช็คลิส (Service Standard of Procedure - SOP and Checklist)
      การทำงานร่วมกันเป็นทีม (Working as One Team)
      ผู้นำและการจัดการ (Leader and Management)