อบรมภายในองค์กรต้องมีอะไรบ้าง

Print

 

องค์กรธุรกิจทีตระหนักว่า พนักงานคือทรัพยากรที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำให้การทำงานโดยเฉพาะการให้บริการลูกค้าดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ่งเป็นองค์กรที่เป็นของชาติตะวันตกจะให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานเป็นอย่างยิ่ง และมีการจัดจ้างให้มีตำแหน่งผู้จัดการฝึกอบรม (Training Manager) ขึ้นมารับผิดชอบการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ซึ่งแผนกฝึกอบรมจะแยกย่อยออกมาจากแผนกทรัพยกรบุคคล หรือทรัพยากรมนุษย์แล้วแต่จะเรียกกัน

ถ้าเป็นองค์กรใหญ่มีเงินทุนสูงก็สามารถจ้างผู้จัดการฝึกอบรมที่มีความรู้มีประสบการณ์มาดำเนินการได้เลย แต่สำหรับองค์กรเล็กหน่อย เงินทุนยังไม่มากก็ต้องฝากเรื่องการฝึกอบรมไว้กับผู้จัดการแผนกบุคคล หรือหัวหน้าแผนกแต่ละแผนกเป็นผู้รับผิดชอบกันไป ถ้าไม่มีผู้จัดการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ปัญหาที่ตามมาก็คือแล้วจะทำกันอย่างไร ทำแค่ไหน ทำตอนไหน ผมขออนุญาตเรียนแนะนำสำหรับการจัดการอมภายในแบบสามารถทำกันเองได้เลยพร้อมหัวข้อที่จำเป็นและที่ควรจะมี ดังนี้

     1. สำหรับพนักงานใหม่ (New Staff) ควรจัดหัวข้ออบรมดังนี้ แผนกทรัพยากรบุคคลจะรับผิดชอบในส่วนนี้
            1.1 การปฐมนิเทศ (Orientation) ซึงประกอบด้วย
                  - ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร ลักษณะของธุรกิจ สถานที่ตั้ง การติดต่อสื่อสาร เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เว็บไซท์ อีเมล์ ฯลฯ
                  - ผู้บริหาร ชื่อ นามสกุล รูปภาพเพื่อให้พนักงานจำได้
                  - สินค้าและบริการขององค์กร
                  - การประสานงานกันระหว่างแผนกต่างๆ
                  - กฎ ระเบียบและข้อบังคับขององค์กร เช่น การขาด ลา มาสาย แบบฟอร์มที่ต้องใช้
                  - วันเวลา ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด วันลา
                  - สวัสดิการต่างๆ เงินที่ต้องถูกหักจากเงินเดือน
                  - เอกสารแบบฟอร์มต่างๆ ที่ต้องใช้
                  - การรักษาความปลอดภัยและสุขอนมัย
                  - การแนะนำตัวกับทีมผู้บริหาร อาจพาไปแนะนำในที่ประชุมผู้บริหาร
                  - พาดูสถานที่ต่างๆ ขององค์กร
                    ฯลฯ

            1.2 การเตรียมเข้าสู่การทำงานในแผนก (Induction) แต่ละแผนกจะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้
                  - สภานที่ และส่วนต่าง ของแผนก
                  - ตำแหน่งต่างๆ ความรับผิบชอบ ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา
                  - วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
                  - กฎระเบียบภายในแผนก
                  - การประสานงานภายในแผนก
                  - เอกสารแบบฟอร์มต่างๆ ที่ต้องใช้
                  - การรักษาความปลอดภัยและสุขอนมัย
                    ฯลฯ

     2. สำหรับพนักงานทุกคน แบ่งเป็นระดับต่างๆ
            2.1 ระดับผู้จัดการ (Manager)
                  - การเป็นผู้นำ (Leadership)
                  - หลักการจัดการ (Management Skill)
                  - การสื่อสารในระดับการจัดการ (Communication for Managers)
                  - การประเมินผลงานและการให้ Feedback (Performance Appraisal and Giving Feedback)
                  - งานเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลสำหรับผู้จัดการในแผนกต่างๆ (HR for Non HR Managers)
                  - การทำแผนงบประมาณ (Budgeting)
                    ฯลฯ

             2.2 ระดับหัวหน้างาน (Supevisor)
                   - หลักการเป็นหัวหน้างาน (Principle of Supervisor)
                   - การสอนงาน (Train The Trainer)
                   - การจัดตารางการทำงาน (Roster)
                   - การมอบหมายงาน (Work Delegation)
                   - การสื่อสารในระดับหัวหน้างาน (Communication for Supervisors)
                   - การติดตามผลงาน (Work Follow-up)
                   - การประเมินผลงาน (Work Evaluation)
                   - การเป็นผู้นำ (Leadership)
                   - หลัการจัดการ (Management Skill)
                   - การสื่อสารในระดับหัวหน้างาน (Communication for Supervisor)
                     ฯลฯ

              2.3 ระดับพนักงานปฏิบัติการ (Operating Staff) แต่ละธุกริจ แต่ละองค์กร และแต่ละแผนกแนก จะมีส่วนนี้ที่แตกต่างกันออกไป
                   - เนื้อหาตามเนื้องานของ (Job Description) ของ
                          แต่ละแผนก และแต่ละตำหน่ง
                   - มาตรฐานการปฏิบัติงานตาม (Standard Of Procedure -  SOP)
                          มาตรฐานของแต่ละตำแหน่ง และแต่ละงานจะแตกต่างกัน
                   - ภาษาต่างประเทศที่จำเป็น (Foreign Languages ; English, Chinese, Japanese etc.)
                          แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                                > ภาษาที่ใช้โดยทั่วไป (Generic) เช่นการทักทาย การบอกเวลา ฯลฯ
                                > ภาษาที่ใช้เฉพาะ (Specific) เช่น งานบริการอาหาร งานขายเครื่องประดับ งานอธิบายแบบเฟอร์นิเจอร์ เรียกว่าภาษาที่ใช้เฉพาะในงานของใครของมัน

                   - ทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน (Other skills ; computer, specific computer program etc.)
                     ฯลฯ

 
ทั้งนี้ควรจัดทำเป็นแผนการอบรมรายเดือน (Monthly Training Plan) มีการตรวจเช็คว่ามีการฝึกอบรมจริง และมีการติดตามผลหลังจากอบรมเสร็จแล้วว่าพนักงานสามารถปฎิบัติงานหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุประสงค์ทึ่ตั้งไว้หรือไม่

Trainingreform ได้จัดเตรียมหลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House Training) ไว้ให้บริการอบรมกับองค์กรท่าน (กรุณาคลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดของแต่ละหลักสูตรเพิ่มเติม)
 
      การสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน (Building Good Attitude at Work)
      หัวใจของการบริการ (Principle of Hospitality)
      แค็ดดี้สนามกอล์ฟมืออาชีพ (Professional Golf Caddie)
      การบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service)
      การเพิ่มยอดการขายผ่านการรับคำสั่งอาหารและเครื่องดื่ม (FB Up-Selling Technique)
      มารยาทการรับประทานอาหารแบบสากล (Dining Etiquette)
      หลักการเป็นหัวหน้างาน (Principle of Supervisor)
      การสอนงาน (Train The Trainer)
      การสื่อสารเพื่อการจัดการการบริการ (Communication for Service Business)
      การวิเคราะห์อุปสรรรคและปัญหาในการให้บริการและการจัดการและการปรับปรุง (Problem Analysis and Improvement Procedure for Customer Service and Management) 
      การจัดทำกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ (Job Description)
      การจัดทำมาตรฐานการบริการและเช็คลิส (Service Standard of Procedure - SOP and Checklist)
      การทำงานร่วมกันเป็นทีม (Working as One Team)
      ผู้นำและการจัดการ (Leader and Management)