ต้นทุนหรือทุน (Cost) เป็นสิ่งที่ธุรกิจหรือการดำเนินการต่างๆ เป็นห่วงและกังวลเป็นอย่างมาก เพราะทุนส่งผลกระทบต่อการเหลือกำไรเป็นอย่างมาก กำไรอย่าว่าแต่การทำธุรกิจเลย ไม่ว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อะไรก็แล้วแต่ ที่ว่าไม่ใช่ธุรกิจก็ยังหวังให้มีกำไร ถึงแม้องค์กรหรือหน่วยงานที่เรียกตัวเองว่า "หน่วยงานที่ไม่หวังกำไร" ก็ยังต้องมีกำไรอะไรต่อมิอะไรแฝงอยู่ดี แต่อาจไม่ได้อยู่ในรูปแบบของตัวเงิน (Money) แต่อยู่ในรูปแบบอื่น เช่น การมีผู้รับข่าวสารที่เผยแพร่ออกไปเป็นจำนวนเท่าไร สามารถลดปัญหาอะไรได้บ้างเป็นต้น
หรือแม้กระทั่งการทำบุญ เช่น ทำบุญ 20 บาท อธิฐานขอให้ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 หรือเดินทางแล้วแคล้วคลาดปอลดภัย หรือไม่เจ็บไม่ป่วย ลงทุน 20 บาทแต่หวังกำไรเป็นหลายร้อยหลายพันเท่า จริงไหมครับ
การเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็มักจะต้องมีการทำการศึกษาความน่าจะไปได้ของการลงทุนทำธุรกิจนั้นว่าจะไปรอดไหม (Feasibility) มีกำไรสักปีละเท่าไร สามารถถอนทุนได้ภายในระยะเวลากีปี ถ้าเปรียบเทียบกับการนำเงินนั้นไปลงทุนอย่างอื่นอันไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน
ต้นทุนโดยทั่วไปก็จะเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือต้นทุนที่ต้องจ่ายแน่ๆ ไม่ว่าจะมีรายได้เข้ามาหรือไม่ เช่น ค่าเช่าตึก อาคาร มีรายได้หรือไม่มีก็ต้องจ่ายแน่ๆ และต้นทุนแปรผัน (Available Cost) เป็นต้นทุนที่จะต้องจ่ายก็ต่อเมื่อเกิดการผลิต ถ้าด้านห้องอาหารก็คือต้นทุนอาหาร เช่น ถ้าขายไข่เจียว 1 ฟอง ก็มีต้นทุนของไข่ไก่หรือไข่เปิด 1 ฟอง ถ้าไม่มีลูกค้าสั่งไข่เจียว ไข่สดนั้นก็ยังอยู่ไม่ถูกนำไปทอด เป็นต้น
ทั้งนี้ยังมีต้นทุนอื่นอีก เช่น ค่าาจ้างแรงงาน (Labor Cost) ต้นทุนประเภทค่าโสหุ้ยหรือค่าใช้จ่ายจิปาถะ หรือ Overhead Cost เช่น ค่าสาธารณุปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
ต้นทุนที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นต้นทุนที่อยู่ในแผนคำนวณอยู่แล้ว แต่สำหรับบทความนี้ผมจะเน้นถึงต้นทุนอีกประเภทหนึ่ง พอดีผมได้ฟังมาจากพี่วิทยากรท่านหนึ่งแต่จำไม่ได้แล้วว่าท่านใดชื่ออะไร ก็ขออนุญาตนำมาเขียนเพื่อเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านต่อไป ต้นทุนนี้ก็คือ "ความไม่รู้" ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจหรือการดำเนินการต่างๆ อย่างฉกาจเลย
ขอยกตัวอย่างต้นของ "ความไม่รู้" เช่น
- ลงทุนทำธุรกิจแล้ว เกิดโรคระบาดโควิด
- ซื้อรถยนต์มือสองมาแล้ว มารู้ทีหลังว่าเครื่องยนต์ชำรุดมาก ต้องเสียเงินซ่อมมาก
- รับสมัครผู้จัดการาแล้ว ทำงานไม่เป็นเลย
- ซื้อทองไว้แล้ว ราคาลงยาวเลย
- ซื้อหุ้นแล้ว หุ้นตก
- มีคนมาเสนอขายที่ถูกๆ แต่ไม่เอา แต่คนอื่นซื้อแล้วขายต่อได้กำไร
- หรือ ขาย (Sell) เหรียญคริปโต แล้วราคาขึ้นสวนทาง
- ฯลฯ
ตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นว่า "ความไม่รู้" มีทั้งส่วนที่รู้ได้ยาก เช่น การเกิดโรคระบาดโควิด ซึ่งป้องกันยากมาก กับความไม่รู้ที่สามารถหาข้อมูลได้ เช่น การรับคนมาเป็นผู้จัดการก็ต้องสืบประวัติ สัมภาษณ์ หาบุคคลอ้างอิงเพื่อการสอบถามการทำงาน
ดังนั้นการประกอบธุรกิจหรือดำเนินใดๆ ก็ต้องหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ให้มากที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจาก "ความไม่รู้"
ดังคำพูดที่ว่า รู้อะไรก็ไม่สู้ "รู้งี้"