E-mail : klanwari@gmail.com             Tel - Line ID : 081 890 4988 

การแข่งขันการเสิร์ฟระดับ World Class การตั้งเกณฑ์และการให้คะแนน 2/2

  • Written by Nattapol Klanwari
  • 25/10/2020
  • Email
  • Read 899 times

Written by Nattapol Klanwari

การแข่งขัน (Competition) นับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะก่อให้เกิดการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม เกิดความพยายามจะคิดค้นกรรมวิธีและเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการพัฒนากิจกรรมต่างๆ โดยมากก็จะใช้วิธีการเฟ้นหาตัวแทนในกลุ่มสังคม หรือหน่วยงานเพื่อเป็นตัวแทนไปเข้าร่วมการแข่งกัน ดังนั้นการกำหนดเกณฑ์ วิธีการให้คะแนนและการตัดสินจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

บทความที่แล้วได้เขียนเกี่ยวกับ มาตรฐานฝีมือแรงงานระดับโลก (WorldSkills Occupational Standards) ตอนที่ 1 ในภาพรวมทั้งหมดไปแล้ว ท่านที่ยังไม่ได้อ่านสามารถคลิ๊กเข้าไปอ่านได้ สำหรับบทความนี้เป็นตอนที่ 2 ต่อจากบทความที่แล้วโดยจะเน้นลึกลงไปในการแข่งขันสาขาการบริการในห้องอาหาร (Restaurant Service)

ก่อนอื่นขออธิบายความหมายที่จะนำไปสู่เนื้อเรื่องเชิงหลักการก่อนคือ ความหมายของคำว่า "การแข่งขัน" (Competition) และ "การประกวด" (Contest)

  • การประกวด (Contest) หมายถึง ก. แข่งขันเพื่อเลือกเฟ้นเอาดี โดยมีการตัดสิน เช่น ประกวดนางงาม ประกวดบทความ
  • การแข่งขัน (Competition) หมายถึง ก. ชิงเอาชนะเพื่อรางวัล, ขันสู้เอาชนะกัน

จาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ https://dictionary.orst.go.th/

ที่ผมต้องเกริ่นนำความหมายดังกล่าวก่อน เพราะจะมีผลต่อการจัดการแข่งขันโดยเฉพาะการตั้งเกณฑ์และการตัดสินให้คะแนน ขึ้นชื่อว่าการแข่งขันผู้เข้าร่วมการแข่งขันตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้จัดส่ง ผู้ฝึกสอนต่างหวังชนะด้วยกันทุกคน ดังนั้นเกณฑ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเกณฑ์การให้คะแนนจะจัดเป็นกลุ่มหลัก คือ

  • เกณฑ์ด้านรูปธรรม (Objective) หมายถึงเกณฑ์ที่มีผลปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น แล่ปลาแล้วไม่มีก้างติดอยู่เลย ต่อวงจรแล้วหลอดไฟส่องสว่าง เป็นต้น
  • เกณฑ์ด้านนามธรรม (Subjective) หมายถึงเณฑ์ด้านที่เกี่ยวกับ ความเชื่อ ความชอบ และความรู้สึก เช่น มีความสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใจ ดูและเอาใจใส่ดี ความสะอาด เป็นต้น

เกณฑ์ด้านที่เป็น Objective จะมีปัญหาน้อยกว่าด้าน Subjective เพราะด้านรูปธรรมมีหลักฐานให้เห็นให้ชั่ง ตวง วัด อย่าชัดเจน โดยเฉพาะงานที่มีผลผผลิตยังคงค้างให้เห็นเป็นประจักษ์พยาน เช่น ก่ออิฐแล้วได้กว้างยาวเท่าไร มีผลงานค้างไว้ตรวจสอบย้อนหลังได้ แต่ด้านบริการจะมีความเป็นนามธรรมค่อนข้างมาก งานชิ้นนั้นเสร็จแล้วก็ไม่มักไม่เหลือหลักฐานให้ตรวจเช็คภายหลังได้ เช่น เสิร์ฟไวน์ไปแล้ว แขกดื่มหมดแล้ว ไม่มีหลักฐานอะไรให้ตรวจเช็คได้ เรียกกว่าผ่านแล้วผ่านเลย

ดังนั้นการแข่งขันต่างๆ มักพยายามจัดทำเครื่องมือที่จะแปลงความเป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ที่เห็นชัดๆ เช่น ในอดีตการแข่งขันเทควันโด้ กรรมการต้องคอยดูว่าใครเตะเข้าเป้าที่ลำตัวของคู่ต่อสู้ได้อย่าง "ชัดเจนและหนักแน่น" ก็จะได้คะแนน เถียงกันตายเลย กรรมการคนหนึ่งเห็น อีกคนไม่เห็น ปัจจุบันจึงมีการออกแบบเกราะที่สวมใส่ และหมวกกันสะเทือนทีมีระบบไฟฟ้าโดยถ้าถูกกระทบ เช่น การเตะหรือต่อยคะแนนก็จะขึ้นมาเองเลย เราจะเห็นว่าก่อนการแข่งขันจะต้องให้คู่ต่อสู้ทดสอบเตะเกาะและหมวกเพื่อเช็คว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่

 

https://mgronline.com/sport/detail/9630000006566

เข้าเรื่องสาขาการเสิร์ฟกันเลยครับ การแข่งขันสาขาการบริการอาหารและเครื่องดื่มหรือการบริการในห้องอาหาร (Restaurant Service) ผู้เชี่ยวชาญในงานด้านนี้ โดยมากก็จะเป็นผู้ฝึกซ้อมให้ผู้เขาร่วมแข่งขันนั่นเองจะมาร่วมประชุมกันเพื่อพิจารณาตั้งหัวข้อ วิธีการและ เกณฑ์การให้คะแนน โดยมากก็จะอ้างอิงโจทย์การแข่งขัน (Test Project) เดิมที่ใช้ในการแข่งขั้นในครั้งที่ผ่านๆ มาเป็นตัวตั้งแล้วจึงมีการพิจารณาเสนอความคิดเห็นในการ เพิ่ม ลด หรือปรับเปลี่ยนส่วนต่างๆ ให้ที่ประชุมพิจารณาและตกลงกัน

การตั้งโจทย์จะยึดถือจากกรอบเนื้อหาใหญ่ ซึ่งมีด้วยกัน 8 เรื่อง ท่านผู้อ่านสามารถดูเนื้อหาทั้งหมดได้จาก https://worldskills.org/skills/id/246/

1. Work organization and management (การทำงานในองค์กรและการจัดการ) น้ำหนักคะแนน 10
 
2. Customer service and communications (การบริการลูกค้าและการสื่อสาร) น้ำหนักคะแนน 12
 
3. Preparation for service (mise en place) (การเตรียมการบริการ) น้ำหนักคะแนน 10
 
4. Food service (การบริการอาหาร) น้ำหนักคะแนน 28
 
5. Beverage service (การบริการเครื่องดื่ม) น้ำหนักคะแนน 12
 
6. Alcoholic and non-alcoholic drinks service (การบริการเครื่องดืมที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์) น้ำหนักคะแนน 12
 
7. Wine service (การบริการไวน์) น้ำหนักคะแนน 8
 
8. Coffee service (การบริการกาแฟ) น้ำหนักคะแนน 8
 
รวมน้ำหนักคะแนนทั้งหมด 100
 
 
 

ผมจะยกตัวอย่างการตั้งโจทย์การแข่งขันขึ้นมาสัก 1 งาน (Task) จาก 8. Coffee service (การบริการกาแฟ) น้ำหนักคะแนน 8 ซึ่งมีกรอบของเนื้อหาที่กำหนดไว้ดังนี้

The individual needs to know and understand:

  • The coffee-making process
  • Details of various coffee including:
    • Beans;
    • Production;
    • Country and region of origin;
    • Characteristics;
    • Use specialist machine and equipment
    • Prepare and serve different styles
    • Technique work with milk products
    • Selection of glassware and equipment used in coffee service
    • Classic types coffee
    • Coffee grinding
       
       
  • The individual shall be able to:
    • Prepare and serve coffee drinks•Follow the recipes for classic coffee
    • Prepare a range of international coffee specialities
    • Create signature coffee drinks with own choice
    • Use appropriate pouring techniques
    • Decorate coffees
    • Follow appropriate working processes

ตัวอย่างการตั้งโจทย์งาน: นำกาแฟที่จัดเตรียมไว้ให้ที่เคาน์เตอรไปเสิร์ฟแขก 2 ท่าน

ตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนน

  • กาแฟไม่หกออกนอกถ้วยกาแฟ 2 คะแนน
  • มีเครื่องปรุง (นม ครีม น้ำตาล) ไปพร้อมหรือก่อนการเสิร์ฟกาแฟ 2 คะแนน
  • พูดแจ้งแขกว่ากำลังจะเสร์ฟกาแฟ 2 คะแนน
  • วางชุดถ้วยกาแฟโดยให้หูแก้วหันไปด้านขวามือของแขก 2 คะแนน
  • เสิร์ฟให้แขกสุภาพสตรีก่อนสุภาพบุรุษ 1 คะแนน
  • เสิร์ฟด้วยความสุภาพ ยิ้มแย้ม 1 คะแนน
    • คะแนนรวม 10 คะแนน

หลักการของการตั้งโจทย์ (Task) คือต้องดึงชิ้นงานออกมาเป็นการวัดทักษะ (Skill) ให้มากที่สุด และสามารถให้คะแนนเป็นรูปธรรม (Objective) ให้มากที่สุดเช่นกัน

หลังจากการแข่งขัน กรรมการให้คะแนนแล้ว ก็จะมาถึงการประชุมการให้คะแนน ประธานหรือหัวหน้าคณะกรรมการ (Chief Expert) ก็จะขานการให้คะแนนผู้เข้าร่วมแข่งขั้นในแต่ละงานที่แข่ง เช่น การเสิร์ฟกาแฟเป็นแก้วของผู้แข่งขันหมายเลข 1 จะไม่ระบุชื่อประเทศซึ่งถึงแม้จะทราบก็ตาม กรรมการทุกคนที่ให้คะแนนต้องแจ้งเลขคะแนนที่ให้ กรรมการจะเว้นการให้คะแนนผู้เข้าแข่งขันที่มาจากประเทศเดียวกับตนเองที่ฝึกซ้อมมา โดยแต่ละคนจะมีการ์ดที่มีตัวเลข 1 - 10 เพื่อใช้โชว์ให้เห็นคะแนนที่ตนเองให้

การให้คะแนนจะให้ต่างกันไม่เกิน 2 คะแนน เช่น 8, 9, 10 หรือ 6,7,8 หากใครให้คะแนนมากกว่า เช่น ถ้าคะแนนส่วนใหญ่ที่ให้กันอยู่ที่ 5, 6, 7 ถ้ามีกรรกรมคนใดให้ต่ำกว่า 5 เช่น ให้ 3 หรือให้มากว่า 7 เช่น 9 กรรมการท่านที่ให้คะแนนที่มากกว่าหรือน้อยกว่านั้นต้องให้เหตุผลว่าทำไมถึงให้อย่างนั้น

เช่น ส่วนใหญ่ให้ที่ 5, 6, 7 กรรมการที่ให้คะแนน 3 จะต้องให้เหตุผลว่ามีจุดใดที่หักคะแนนเช่นนั้น เพราะฉะนั้นคำถามว่า "Why" จะเกิดขึ้นบ่อยมาก ถ้ากรรมการที่ให้คะแนน 3 มีเหตุผลไม่เพียงพอต้องปรับคะแนนขึ้นมาที่จุดต่ำสุดคือ 5 แต่ก็มีบางครั้งที่ผู้ที่ให้คะแนน 7 ยอมถอยลงมาที่ 6 ซึ่งสรุปแล้วอาจเป็น 4, 5, 6 หรือ 5, 6, 7 ตามเหตุผลของผู้ที่ให้คะแนนน้อย สรุปแล้วต้องห่างกันไม่เกิน 2 ในภาพรวม (สนุกปนเครียดกันละครับ)

เมื่อได้คะแนนสรุปของแต่ละงานของผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนแล้วจึงส่งผลคะแนนนั้นไปคีย์ลงระบบคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็จะมีการพูดคุยเพื่อหาข้อบกพร่องในการจัดการแข่งขัน หรือจุดต่างๆ เพื่อพัฒนาการแข่งขันให้ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อไป

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ

1. การตั้งน้ำหนักคะแนน เพราะงานแต่ละงานความสำคัญจะไม่เท่ากัน เช่น การเสิร์ฟอาหารน้ำหนักคะแนน 28 จาก 100 หรือ 28 % ขณะที่การบริการกาแฟน้ำหนักคะแนนอยู่ที่ 8 %

2. การให้คะแนนในใบให้คะแนนที่ฐาน 10 แล้วจึงนำคะแนนที่ได้ไปคูณกับน้ำหนักคะแนน ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการให้คะแนน คือทุกอย่างเต็ม 10 หมด

3. การที่กรรมการที่ให้คะแนนต้องขานคะแนนที่ให้กันอย่างเปิดเผยพร้อมเหตุผล ไม่ใช่กรอกคะแนนในใบให้คะแนนแล้วก็ส่งให้คณะทำงานกรอกลงระบบเลย ซึ่งอาจมีการกดคะแนน หรือให้คะแนนใครจนเว่อร์ก็จะไม่มีการตรวจทานกัน (เสร็จแล้วก็ขอดูกันว่าใครให้คะแนนเท่าไร แล้วก็นินทากันลับหลัง)

หลักเกณฑ์นี้สามารถปรับใช้ได้กับทุกการประกวดหรือการแข่งขัน ถ้าทำเช่นนี้ ปํญหาที่เรามักเห็นหรือได้ยินดราม่าเกี่ยวกับการประกวดหรือการแข่งขันต่างๆ ก็จะลดน้อยลง ยกเว้นว่ามีการจงใจล็อคผล ซึ่งอันนี้ก็ช่วยไม่ได้ครับ

ผมขอค้างเรื่องการแข่งขัน และมาตรฐานในภาพรวมของประเทศไปไว้ในบทความต่อไปนะครับ เดี๋ยวจะมากไปสำหรับบทความนี้ แล้วพบกันครับ

To be continued.....

 

 

Last modified on Sunday, 25 October 2020 21:56

ติดต่อเรา

นัฐพล กลั่นวารี
Nattapol Klanwari

  • Tel (Thailand) 66-081 890 4988
  • Line ID : 081 890 4988
  • Tel (Canada) 1 - 437 775 2478
  • Email : klanwari@gmail.com

 

สุนันทา

  • Tel : 090 917 9523

ติดตามเรา

การอบรมพร้อมกับการสนับสนุน

การอบรมเป็นวิธีการหนึ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง ความรู้ ทักษะและทัศนคติ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะได้ผลมากยิ่งขึ้น ถ้าปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อหนุนด้วย ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือผู้บริหารหรือผู้นำที่จะก่อให้เกิดปัจจัยเกื้อหนุนเหล่านั้น


คลิ๊กเพื่อดูหลักสูตรทั้งหมดพร้อมรายละเอียด

สถิติการเข้าชม (Since June 20, 2019)

1142672
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1208
1282
8711
1125224
32190
43068
1142672

Your IP: 34.238.189.240
2023-03-26 17:57
© 2017 Sj TheCool - Joomla Responsive Template. All Rights Reserved. Designed By SmartAddons">SmartAddons.com

Search